วิธีแก้เมื่อลูกติดเต้า … เป็นเรื่องปกติ ที่ลูกน้อยจะติดอกติดใจกับการดูดนมจากอกของคุณแม่ เพราะทุกครั้งที่ดูดนมจะได้รับความรัก ความอบอุ่น และได้รับความรู้สึกที่ปลอดภัย ทำให้ลูกไม่สามารถหยุดหรือเลิกดูดนมแม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาในระยะยาว เมื่อคุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน แต่ลูกไม่ยอมดูดนมขวด ไม่ยอมอยู่กับผู้ดูแลแทน และร้องไห้งอแงจนคุณแม่ไม่สามารถกลับไปทำงานได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ คุณแม่สามารถแก้ได้ด้วยเคล็ดลับดังนี้ค่ะ

วิธีแก้เมื่อลูกติดเต้า แบบง่าย ๆ

มาดูกันเลย ว่าจะสามารถแก้ปัญหาลูกติดเต้าได้อย่างไร โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

ปรับเปลี่ยนท่าทางในการป้อนนม

บางครั้งลูกน้อยไม่ยอมลองดูดนมจากขวดอาจเป็นเพราะท่าทางในการป้อนนมที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ลูกน้อยเกิดความไม่สบายตัว จนไม่ยอมดูดนมจากขวดได้ คุณแม่ลองปรับเปลี่ยนท่าอุ้มให้ถูกต้อง โดยการอุ้มลูกให้นอนเอียง 45 องศา แล้วค่อย ๆ ป้อนนม คุณแม่จะต้องอุ้มลูกแนบอกตั้งตัวตรง เพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน และลดอาการอึดอัดท้องของลูกลงได้ค่ะ

เอียงขวดให้เหมาะสม

เมื่อคุณแม่ปรับท่าอย่างเหมาะสมและถูกต้องแล้ว ต่อมาคือวิธีการปรับเอียงขวดนมให้เหมาะสมค่ะ โดยการเอียงขวดให้ขนาบกับพื้นหรือให้นมเต็มจุกยางอยู่เสมอ เพื่อให้นมไหลช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอ และเพื่อลดปริมาณของอากาศที่เจ้าตัวน้อยอาจจะดูดเข้าไปและทำให้ลูกท้องอืดได้ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ยกก้นขวดขึ้นตั้งตรงนะคะ เพราะจะทำให้น้ำนมไหลเร็วขึ้น ลูกจะสำลักนมได้ค่ะ

เลียนแบบการดูดนมจากอกของคุณแม่

นมแม่ที่ปั๊มออกมา ถึงจะแช่เย็นเก็บไว้ ก่อนจะให้ลูกดูดควรจะอุ่นให้นมอยู่ในอุณหภูมิปกติ เมื่อลูกดูดนมอุ่น ๆ จะทำให้รู้สึกว่าดูดนมจากอกของคุณแม่ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ชอบดูดนมขวดเพราะจุกยางแข็งเกินไป แนะนำให้เลือกจุกยางที่มีความยืดหยุ่น นุ่มสามารถดูดได้ง่าย แต่ควรจะเลือกจุกน้ำขนาดเล็กนะคะ เพื่อป้องกันการติดขวดในระยะยาว

ปลี่ยนวิธีการป้อนในหลายแบบ

เพื่อให้ลูกลืมเต้านมของคุณแม่ คุณแม่สามารถลองเปลี่ยนวิธีการป้อนนมให้หลากหลาย เช่น การป้อนด้วยช้อน การป้อนด้วยหลอด และอื่น ๆ จากนั้นก็วนมาป้อนด้วยขวด โดยลดจำนวนครั้งในการดูดนมจากอกลง จากปกติวันละ 10 ครั้ง ให้เหลือเพียง 5 ครั้ง ลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ให้ลูกดูดนมขวดเพียงอย่างเดียว

ลองให้คนอื่นดูแลลูกแทนสักวัน

พฤติกรรมของเด็กเล็กส่วนใหญ่ จะไม่ยอมดูดนมขวดจากคนอื่น ๆ ถ้าคุณแม่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ เพราะพวกเขารู้ว่าคุณแม่ยังอยู่รอบ ๆ บ้านไม่ได้ไปไหนไกล การฝึกป้อนนมไม่สำเร็จ และต้องใช้เวลานาน ดังนั้น เพื่อให้การฝึกให้ลูกยอมเลิกดูดนมจากเต้ามาดูดขวดแทน คุณแม่ก็ควรตัดใจ และพยายามอดทนยอมออกไปข้างนอก โดยปล่อยให้ลูกอยู่กับผู้ที่จะมาดูแลแทน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และสอนให้พวกเขารู้ว่าอีกไม่นาน เขาจะต้องอยู่กับผู้ดูแลคนนี้ระหว่างที่คุณแม่ไปทำงาน และอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะได้ผล ในขณะที่ผู้ดูแลแทนกำลังป้อนนม แนะนำให้หันหน้าไปทางอื่น ซึ่งวิธีนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการป้อนนมจากขวดได้มากกว่าค่ะ

Sponsored

ให้เวลากับลูกเต็มที่ก่อนจะกลับไปทำงาน

เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย คุณแม่ควรจะให้ลูกดูดนมจากเต้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจะกลับไปทำงาน เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้ไหลออกมาอย่างเพียงพอ ก่อนที่คุณแม่จะไปทำงานแนะนำให้ปั๊มนมทุก ๆ 3 ชั่วโมง และเก็บแช่แข็งทันที เพื่อเตรียมน้ำนมให้เพียงพอตลอดทั้งวัน และเมื่อกลับถึงบ้าน เวลานอนก็สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ทันทีค่ะ โดยไม่ต้องกลัวว่าลูกจะเบื่อ ทั้งนี้การให้ลูกได้ดูดนมจากเต้าแบบต่อเนื่องจะทำให้ลูกได้รับความรู้สึกที่อบอุ่นและผูกพันกับคุณแม่มากขึ้น ช่วงเวลาที่คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงานก็จะให้ลูกรู้สึกปล่อยภัยนั่นเองค่ะ

ความพยายามกับความอดทนต้องมาพร้อมกัน

ช่วงแรก ๆ ของการฝึกลูกให้ดูดนมจากขวด อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก จนบางครั้งอาจจะทำให้รู้สึกท้อและไม่อยากฝึกลูกอีก เพราะสงสัย นี้อาจจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คุณล้มเหลวกับการฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดได้ ดังนั้น เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ คุณแม่จะต้องมีความอดทนไปพร้อมกับความพยายามเพื่อให้ลูกยอมดูดนมจากขวดในช่วงเวลาหนึ่งแทนการดูดนมจากเต้าที่เคยดูดอยู่ตลอดเวลา ความพยายามของคุณแม่และผู้ดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีให้ได้ การทำอย่างต่อเนื่องจะทำให้ลูกเกิดความเคยชินและสมหวังดังที่คุณแม่ตั้งใจไว้ค่ะ

ถึงแม้ว่าการให้ลูกเลิกดูดนมจากเต้าจะทำให้คุณแม่ลำบากใจสักหน่วยในช่วงแรก ๆ แต่ถ้าคุณแม่พยายามทำอย่างสม่ำเสมอและมีความอดทน ซึ่งคุณแม่ลองปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง 7 ข้อก็อาจจะช่วยให้การฝึกป้อนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นก็ได้นะคะ ไม่ว่าจะเจอกับปัญหาใดก็ตาม เพียงแต่คุณแม่มีความพยายามเราเชื่อว่าคุณแม่จะสามารถผ่านไปได้ทุกปัญหาและอุปสรรค์อย่างแน่นอนค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด