ทารก5-8เดือน ในวัย 5 – 8 เดือน โดยในแต่ละเดือนที่ลูกน้อยเจริญเติบโต พัฒนาการต่าง ๆ จะเป็นไปตามช่วงวัย แต่สำหรับทารกบางคนกลับมีเรื่องที่น่าประหลาดใจว่า วัยนี้ทำได้แล้วเหรอ ให้พ่อแม่สงสัยกันอยู่บ่อย ๆ ขอแบ่งบทความในแต่ละช่วงวัย ออกเป็น 3 บทความนะคะ เพื่อการอ่านที่สะดวก ติดตามอ่านกันค่ะว่า เรื่องน่าประหลาดใจที่เจ้าหนูทำได้นั้นมีอะไรบ้าง
เรื่องน่าประหลาดใจที่ทารกทำได้ วัย 5 – 8 เดือน
เดือนที่ 5 จับไม่มั่น
เมื่อคุณวางของเล่นบนมือลูก ปรากฏว่าเจ้าตัวน้อยปล่อยของเล่นให้หล่นหลุดมือ
หมายความว่า เจ้าตัวเล็กยังไม่ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ทำให้ขาดปฏิกิริยาตอบสนอง เวลากดไปที่ฝ่ามือนิ้วมือของเขาจึงกางออกโดยอัตโนมัติ
ควรทำอย่างไรต่อ คุณแม่มักจะเอาอะไรให้ลูกมือเวลาต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม เป็นการเริ่มต้นการเล่นของเจ้าตัวน้อยเลยละ จนถึง 8-9 เดือนเขาจะเริ่มจับของแต่ละชิ้นและโยนออกไปโดยเจตนา
เดือนที่ 6 ตลกจังแม่
คุณแม่เลียนเสียงคนแก่ สัตว์ เจ้าตัวเล็กพอได้ยินก็หัวเราะเสียยกใหญ่ เป็นไปตามการตอบสนองทางกาย เช่น ถูกจี๋เอว เป็นต้น
หมายความว่า ลูกเรียนรู้และได้ฟังหรือเห็นทาทางบางอย่างจากคุณ โดยเฉพาะเสียงแปลกๆ หน้าตาตลกๆ พอช่วงอายุ 9-12 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มทำตลกให้คุณหัวเราะบ้าง
ควรทำอย่างไรต่อ คุณอาจทำให้ลูกขำต่อไปได้อีก แต่เด็กบางคนไม่เหมือนกัน คุณต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไปว่าใช้วิธีไหนจึงจะได้ผล
เดือนที่ 7 สนใจหนูหน่อย
ในเดือนนี้ลูกจะเริ่มส่งเสียงเพื่อบอกความรู้สึกตัวเองได้บ้างแล้ว เช่น มองมาที่คุณแม่แล้วส่งเสียงร้อง แอ๊ะ แอ๊ะ แอ๊ะ พร้อม ๆ กับขมวดคิ้วเพื่อจะบอกว่าสนใจหนูหน่อยสิ
หมายความว่า ในช่วงนี้ทารกน้อยเริ่มรู้สึกแล้วว่าเสียงร้องของเขาทำให้เกิดอะไรบางอย่าง หรือเรียกร้องความสนใจจากแม่ได้ ซึ่งเสียงที่แสดงความต้องการอะไรบางอย่างนั้น จะออกไปในแนวทางเสียงร้องโหวกเหวกมากกว่านุ่มนวลน่าฟัง
ควรทำอย่างไรต่อ ถ้าฟังเสียงลูกแล้วรู้สึกสบายหู คุณแม่โปรดให้ความสนใจหนูด้วย มาอยู่ใกล้ มาอุ้ม มาหอม แต่ถ้าแม่ไม่สบตาหนู ไม่สนใจหนู หนูจะแผดเสียงให้ดังลั่นบ้านไปเลย
เดือนที่ 8 เบื่อของเล่นเดิม ๆ แล้วนะแม่
ในช่วงเดือนนี้เจ้าหนูเริ่มเบื่อเป็นแล้วนะ บางทีให้ของเล่นชิ้นโปรดปรากฏว่าเล่นอยู่แค่แป๊บเดียว เจ้าหนูไม่เอาแล้ว เบื่อแล้วจ้าแม่จ๋า
หมายความว่า เมื่อลูกอยู่ในช่วงวัย 7 – 8 เดือน กระบวนการทางอารมณ์ ความคิด การมองเห็น และการได้ยินของลูกจะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกกับสิ่งรอบตัวได้มากกว่าที่เคยและเริ่มไขว้เขวกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย
ควรทำอย่างไรต่อ เก็บของเล่นชิ้นที่ลูกเบื่อนั้นไว้สักพัก เอาชิ้นใหม่มาให้ลูกเล่น โดยให้ทีละชิ้น ไม่ใช่หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน จะช่วยฝึกลูกให้เพ่งความสนใจกับสิ่งที่มีอยู่ในมือเท่านั้น ที่บ้านควรมีกล่องเก็บของเล่นและให้ลูกเล่นทีละชิ้นหรือสองชิ้นเท่านั้น เพราะของเล่นมากไปไม่ดี ทำให้ลูกมีนิสัยจับจดและไม่มีสมาธิได้ค่ะ
ติดตามเรื่องน่าประหลาดใจของลูกในวัยทารก ในช่วงวัย 9 -12 เดือนกันต่อในบทความต่อไปนะคะ
ร่วมแชร์บทความเพื่อมอบสาระความรู้เกี่ยวกับแม่ท้องและเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงวิธีการการเลี้ยงดูทารก และสารพันความรู้อีกมากมาย ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอื่น ๆ มาร่วมสร้างสังคมออนไลน์ที่มีคุณภาพเต็มเปี่ยมไปด้วยสาระและเกร็ดความรู้ดี ๆกับเพจทีมคนท้องกันนะคะ
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ควรเลือกแบบสายผูก หรือแบบกระดุมดีกว่ากัน