ความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านปรารถนา และต้องการที่จะเห็นเมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้น แต่ความปรารถนาดังกล่าวนี้ก็อาจกลายเป็นความปรารถนาที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ในบางครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกน้อยเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งก็สามารถสังเกตได้ยากเมื่อลูกน้อยยังเล็ก แต่ก็มีสัญญาณออทิสติกให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกต เพื่อใช้ในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย ที่เราได้รวบรวมมาไว้ให้แล้วในบทความนี้

สัญญาณออทิสติกในทารก ที่คุณแม่ต้องสังเกต

โรคออทิสติก หรือในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Autistic หรือชื่อในทางการแพทย์ที่เรียกว่าโรคออทิซึมสเปกตรัม หรือ Autism Spectrum Disorder เป็นกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นจากความผิดปกติของอาการทางสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย หรือ ด้านอารมณ์ ในส่วนของลูกน้อยที่ยังเล็กก็ไม่สามารถบ่งบอกอาการต่าง ๆ ของตนให้คุณพ่อคุณแม่รับทราบได้ ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการเช็คสัญญาณออทิสติกของลูกน้อย ซึ่งสัญญาณออทิสติกของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยก็มีดังนี้

- 6 เดือน ช่วงวัย 6 เดือน เป็นช่วงวัยที่ลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านร่างกายสามารถพลิกคว่ำ สามารถนั่งได้นานขึ้น รวมไปถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่สามารถงอน ส่งเสียงเรียกคุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงทราบชื่อของตัวเองแล้ว สัญญาณออทิสติกในช่วง 6 เดือนนี้ก็คือ การที่ลูกน้อยไม่มีการแสดงอารมณ์ ไม่ว่าจะร้องไห้ยามที่เจ็บปวด หรือ การหัวเราะมีความสุข

- 9 เดือน ช่วงวัย 9 เดือน เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มตั้งไข่ เริ่มหัดเดิน ชื่นชอบการเล่นของเล่นที่มีเสียง รวมไปถึงสามารถส่งเสียงออกเป็นคำสั้น ๆ อย่างเรียก “พ่อ” “แม่” “หม่ำ” ได้แล้ว สัญญาณออทิสติกในช่วง 9 เดือน สามารถสังเกตได้ชัดเจนขึ้น โดยการเรียกลูกน้อย ลูกน้อยก็จะไม่หันหรือไม่สนใจ รวมถึงไม่สนใจของเล่นที่มีเสียงต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างมาก

- 1 ปี เป็นช่วงอายุที่ลูกน้อยมีความจำที่ดีขึ้น สามารถเดินหรือนั่งได้นานขึ้น สามารถพูด หรือ แสดงท่าทางการสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงบอกความต้องการของตนเองได้เป็นอย่างดี สัญญาณออทิสติกจึงปรากฏเด่นชัด รวมถึงแพทย์ก็สามารถวินิจฉัยสัญญาณออทิสติกได้ในช่วงอายุนี้ของลูกน้อยได้ค่อนข้างชัดเจน โดยลูกน้อยจะไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด ๆ การเล่นของลูกน้อยจะเล่นซ้ำ ๆ อย่างการเล่นรถก็จะหมุนเฉพาะส่วนล้อ หรือ การเล่นตัวต่อก็จะจับเรียงกันแทนที่จะต่อ และ อารมณ์ของลูกน้อยจะรุนแรงไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน อย่างการร้องไห้ที่รุนแรง

ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม คุณแม่ต้องรู้

สัญญาณออทิสติกที่คุณแม่สังเกตเห็นในลูกน้อย ก็ไม่อาจแปลได้ว่าสัญญาณออทิสติกที่ปรากฏนี้บ่งบอกว่าลูกน้อยเป็นเด็กออทิสติกแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีกลุ่มอาการที่เรียกว่า ออทิสติกเทียม นั่นเอง ซึ่งออทิสติกเทียมและออทิสติกแท้ มีจุดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.สาเหตุ

ออทิสติกแท้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของพัฒนาการทางด้านระบบประสาทและสมอง

ออทิสติกเทียมมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูโดยตรง ไม่มีสาเหตุมาจากความสภาวะทางร่างกายแต่อย่างใด

2.การรักษา

ออทิสติกแท้ต้องอาศัยระยะเวลา และ การดูแลอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา

ออทิสติกเทียมสามารถรักษาให้หายขาดได้ภายในระยะเวลาไม่นาน เพียงแค่การหันไปมาเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง

Sponsored

ป้องกันลูกจากการเป็นออทิสติกเทียมได้อย่างไร

เพื่อการป้องกันปัญหาออทิสติกเทียมที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี้ยงดูลูกน้อยโดยวิธีดังนี้

1.ห่างไกลจอ

ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอสมาร์ทโฟน หน้าจอแท็บเล็ต หน้าแล็ปท็อปเพราะการเลี้ยงลูกน้อยโดยมีอุปกรณ์เหล่านี้เป็นตัวช่วยจะเป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว ลูกน้อยจะได้รับสารจากอุปกรณ์เหล่านั้นโดยไม่มีการโต้ตอบกลับ หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ก็ควรเริ่มเมื่อลูกน้อยมีอายุที่พอเหมาะ มีการจำกัดเวลาการใช้งานในแต่ละวัน และ ควรมีคุณพ่อคุณแม่คอยกำกับดูแลการใช้งานอุปกรณ์ของลูกน้อยด้วย

2.เลี้ยงดูลูกน้อยด้วยการเอาใจใส่และสื่อสารสองทาง

หลาย ๆ ครอบครัวพบกับปัญหาออทิสติกเทียมจากการจ้างพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงที่มีความชำนาญในการเลี้ยงเด็กออทิสติกมาก่อน มักติดวิธีการเลี้ยงเหล่านั้นมาเลี้ยงลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บของเล่นให้เหลือเพียงชิ้นเดียวเพื่อป้องกันการขวางปาสิ่งของเล่นที่เป็นพฤติกรรมหนึ่งของเด็กที่เป็นออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ที่มีพี่เลี้ยงคอยช่วยจึงต้องคัดกรองพี่เลี้ยงที่จะเข้ามาดูแลลูกน้อยของตนด้วย นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรใช้เวลาร่วมกับลูกน้อยและใช้การสื่อสารสองทาง

สัญญาณออทิสติกเป็นหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้สังเกตลูกน้อยของตนเอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยและรักษาของแพทย์ต่อไป อย่างไรก็ดีแม้ว่าลูกน้อยจะขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กออทิสติกแต่ด้วยการดูแลและเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสมจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกน้อยก็สามารถเติบโต ประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ในรูปแบบที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หายห่วง รวมถึงมีความสุขได้อย่างแน่นอน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ทำไมต้อง เร่งคลอด มาทำความเข้าใจกับสาเหตุและการเร่งคลอด

2.วิธีเร่งคลอด ความแตกต่างระหว่างเร่งโดยหมอกับเร่งด้วยธรรมชาติ