ฝากครรภ์ช้า จะเป็นอะไรไหม? เรื่องของการฝากครรภ์ภายหลังจากที่รู้ว่ามีการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญมาก บางคนอาจจะฝากครรภ์หลังมีอายุครรภ์ได้เพียง 1-2 สัปดาห์ ขณะที่บางคนอาจจะเริ่มฝากครรภ์เมื่อมีอายุครรภ์ครบ 1 เดือน จนหลายคนอาจสงสัยว่าเห่อลูกหรือเปล่า ทำไมต้องรีบฝากครรภ์เร็วขนาดนั้น แต่รู้หรือไม่ว่า การฝากครรภ์ช้า อาจส่งผลเสียบางอย่างได้มากกว่าที่คิด และที่ร้ายแรงที่สุดคือเด็กที่เกิดมาพิการ มาดูกันว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
อายุครรภ์เท่าไร จึงควรจะเริ่มฝากครรภ์ ?
องค์การอนามัยโรค (WHO) ได้กำหนดไว้ว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรตรวจครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไปจนกว่าจะคลอด จึงจะทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณแม่และคุณลูกได้ โดยการตรวจครรภ์ครั้งแรก ควรเกิดขึ้นก่อนครรภ์จะมีอายุครบ 3 เดือน และหลังจากนั้นควรตรวจทุก ๆ 1-2 เดือนจนกว่าจะคลอด ซึ่งทุกครั้งที่มาตรวจครรภ์นั้น แพทย์จะเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยถึงสุขภาพของแม่และลูก ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ การตรวจปัสสาวะ การตรวจอัลตราซาวด์ รวมถึงการตรวจพื้นฐานอย่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต เป็นต้น
ฝากครรภ์เร็วเกินไป จะมีผลเสียอะไรหรือไม่ ?
ไม่มีผลเสียอะไรเลย ถือเป็นเรื่องดีเสียอีก เพราะถ้าหากมีความผิดปกติ แพทย์จะได้ทำการรักษาก่อนเนิ่นๆ ซึ่งถ้าหากพบปัญหาร้ายแรงบางอย่าง แพทย์ก็อาจจะสั่งให้ยุติการตั้งครรภ์ไว้ก่อนได้ ถ้าหากจะถามข้อเสียของการฝากครรภ์เร็วเกินไป ก็เห็นจะมีแค่เรื่องของค่าใช้จ่าย และการที่ต้องมาพบแพทย์บ่อยกว่าคนทั่วไป แต่ถ้าเทียบกับความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แล้ว ก็นับว่าคุ้มอยู่มากทีเดียว
ทำไมการฝากครรภ์ช้า ถึงเสี่ยงต่ออันตรายของเด็ก
การฝากครรภ์ช้าในที่นี้ ก็คือการฝากครรภ์หลังจากที่มีอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป ในระหว่างนั้น หากเด็กมีอาการผิดปกติขึ้น เช่น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ คุณแม่มีโรคประจำตัว รวมถึงเด็กมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ ก็จะทำให้แพทย์ไม่สามารถดูแลและแก้ไขทันได้ ในส่วนของตัวคุณแม่เองนั้น ก็ไม่ได้รับยาบำรุงที่จำเป็น เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก ยาเสริมแคลเซียม ซึ่งล้วนแต่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก จึงทำให้เกิดการแย่งสารอาหารกัน และนำไปสู่การเจ็บป่วยของคุณแม่ที่อาจจะส่งผลทันที หรือส่งผลต่อเนื่องไปยังอนาคตได้
ความผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่คุณแม่ฝากครรภ์ช้า
มาดูกันเลยว่า จะมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นบ้าง หากฝากครรภ์ในระยะเวลาที่ช้าจนเกินไป ซึ่งได้แก่
- มีอาการดาวน์ซินโดรม
- พบความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกาย เช่น มีอวัยวะไม่ครบส่วน หรือมีอวัยวะผิดรูปจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
- ขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเด็กทั่วไป
ต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก
เมื่อรู้กันแล้วว่า การฝากครรภ์ที่ช้าเกินไปจะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นเตรียมตัวไปฝากครรภ์กันเลยดีกว่า ซึ่งการฝากครรภ์ครั้งแรกจะต้อง
- ไปที่โรงพยาบาลหรือคลินิก และแจ้งความประสงค์ว่าต้องการฝากครรภ์
- เตรียมบัตรประชาชนไปให้พร้อม เพื่อทำประวัติที่โรงพยาบาล โดยเตรียมทั้งของคุณพ่อและคุณแม่
- เตรียมข้อมูลสำคัญๆ เพื่อแจ้งให้หมอทราบ เช่น ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เคยแพ้ยาอะไรบ้าง
- นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติใด ก็ให้ถามหมอในวันที่ฝากครรภ์เลย
เห็นแบบนี้แล้ว ก็หวังว่าคุณแม่จะเข้าใจในเรื่องของการฝากครรภ์มากขึ้น และคงจะเริ่มไปฝากครรภ์กันทันทีที่รู้ว่ามีการตั้งครรภ์ และถ้าหากพบปัญหาใดๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ก็อย่าเก็บมากังวลใจคนเดียว ชวนคุณพ่อไปพบแพทย์เพื่อถามข้อสงสัย และตรวจครรภ์ด้วยกันเพื่อให้เกิดความสบายใจและลดความเครียดที่อาจส่งผลเสียต่อเด็กได้ด้วยนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.เล่าประสบการณ์ คลอดลูกแบบธรรมชาติ ที่ไม่มีวันลืม
2.ฝากถึงคนบนฟ้า ขอบคุณนะที่ทิ้งของขวัญล้ำค่าไว้ให้ สัญญาจะดูแลให้ดีที่สุด