ขณะที่เจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องของคุณแม่นั้น ก็จะมีเจ้า น้ำคร่ำ นี้แหละที่เป็นเครื่องช่วยพยุง ประคับประคองไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนจากภายนอกและยังเป็นอีกหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง เรามาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำกันดีกว่า “ น้ำคร่ำ ” คือ ของเหลวที่คอยปกป้องเจ้าตัวน้อยขณะที่อยู่ในท้องของคุณแม่ มีหน้าที่ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอก น้ำคร่ำมีส่วนประกอบของน้ำถึง 98% และมีสารประกอบอื่นๆอีก 2 %
หน้าที่ของ น้ำคร่ำ มีดังนี้
- ช่วยรักษาอุณหภูมิในเจ้าตัวน้อย ขณะที่อยู่ในท้องให้ได้รับความอบอุ่น
- ดังที่กล่าวแล้วว่าน้ำคร่ำ มีส่วนประกอบของน้ำอยู่ถึง 98% จึงทำให้เจ้าตัวน้อยสามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้อย่างอิสระ เหมือนปลากำลังแหวกว่ายอยู่ในน้ำ
- หน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างของน้ำคร่ำ คือ เป็นปราการด่านแรกที่ช่วยฝึกการทำ งานของปอดปอให้แก่ทารก เนื่องจากทารกจะดูดกลืนน้ำคร่ำขณะที่อยู่ในท้องเพื่อการดำ รงชีวิต
- คุณหมอสามารถเจาะน้ำคร่ำนี้ เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ได้ แต่ถ้าหากต้องมีการเจาะน้ำคร่ำคุณหมอมักจะ กระทำเมื่ออายุครรภ์ได้ราวๆ 16-18 สัปดาห์
- คุณแม่ที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากจะ ทำให้มีขนาดท้องที่ใหญ่ผิดปกติ อาจมีผลทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
- สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำคร่ำน้อยก็จะมีขนาดท้องที่เล็กเกินไป อาจมีผลทำ ให้เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง และลูกน้อยก็จะขยับแขนขาไม่สะดวกทำให้การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
- เมื่อครบกำหนดคลอด น้ำหนักของน้ำคร่ำในท้องของคุณแม่จะหนักประมาณ 1 กิโลกรัมไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยนะคะ
- ปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ ดังนี้อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำประมาณ 50 มิลลิลิตรอายุครรภ์ 16 สัปดาห์มีน้ำคร่ำประมาณ 150-200 มิลลิลิตร อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำประมาณ 400 มิลลิลิตร อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำประมาณ 1,000 มิลลิลิตร
- ช่วงเวลาที่เป็นสัญญาณว่าจะคลอดแล้วจ้า คือ จะมีน้ำใสๆไหลออกมาทางช่องคลอดหรือเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกนั่นเอง หรือเรียกอีกอย่างว่าน้ำเดิน ตอนนี้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เลยค่ะ
- แต่หากมีอาการน้ำเดินก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถือเป็นอาการผิดปกติ และอยู่ในภาวะอันตรายต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิดค่ะ
ร่วมแชร์ประสบการณ์ เรื่องราวการคลอดบุตร การดูแลทารก และการเลี้ยงลูกในแบบฉบับของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครอบครัว ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์ หากมีข้อข้องใจหรือคำถาม ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูล https://en.wikipedia.org/wiki/Amniotic_fluid
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..