แม่ท้องหลายคนคงได้ยินเรื่องของการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจเช็คความปกติของทารกในครรภ์กันมาบ้าง ซึ่งหลายคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า การเจาะน้ำคร่ำระหว่างการตั้งครรภ์นั้น เจาะเพื่ออะไร เจาะน้ำคร่ำแล้วอันตรายไหม เรามาไขคำตอบกันเลยค่ะ
แม่ท้องเจาะน้ำคร่ำอันตรายจริงหรือไม่?
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทารกในครรภ์นั้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยน้ำคร่ำ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำ เซลล์ผิวหนังของทารก และสารอื่น ๆ เช่น อัลฟา-ฟีโตโปรตีน (AFP) อันเป็นสารที่สามารถบอกเกี่ยวกับสุขภาพของทารกก่อนคลอดได้
ทำไมแม่ท้องตรวจน้ำคร่ำ นั่นเพราะการตรวจน้ำคร่ำจะสามารถบอกความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ และผู้หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีโอกาสที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแตกต่างกันไป ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะน้ำคร่ำ คือ การเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำเพื่อนำมาตรวจ โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าทางช่องท้องเข้าไปยังมดลูก ซึ่งดูจากอัลตราซาวน์ และเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ (ปริมาณน้อยกว่า 1 ออนซ์) ส่งไปห้องแล็บเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ เพื่อทำการตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ชินโดรม ทาลัสซีเมีย หรือโรคพันธุกรรมอื่น ๆ เป็นต้น โดยการเจาะน้ำคร่ำสามารถเกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น เกิดการรั่วซึมของถุงน้ำคร่ำ การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ และทารกเสียชีวิตในครรภ์ ดังนั้นการเจาะน้ำคร่ำจึงควรทำ โดยมีข้อบ่งชี้ เช่น
>>>แม่ท้องมากกว่า 35 ปี นับจากวันครบกำหนดคลอด โดยจากการศึกษาพบว่าผู้หญิงยิ่งตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสพบความผิดปกติมากขึ้นด้วย โดยพบว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 – 39 ปี มีภาวะเสี่ยงร้อยละ 0.9 ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 40 – 41 ปี มีภาวะเสี่ยงร้อยละ 4.9 ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 42 – 43 ปี มีภาวะเสี่ยงร้อยละ 8.0 ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 44 – 47 ปี มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 10.5
>>>เคยให้กำเนิดทารกที่มีความพิการแรกเกิด
>>>มีประวัติคนในครอบครัวมีความพิการแรกเกิด
>>>สังเกตเห็นความผิดปกติจากอัลตราซาวน์
>>>โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
>>>ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจาง ทาลัสซีเมีย เป็นต้น
แม่ท้องสามารถทำการตรวจน้ำคร่ำได้ ในช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อดูว่าปอดของเด็กเจริญเติบโตพร้อมสำหรับการคลอดแล้วหรือไม่ หรือเพื่อเช็คอาการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งต้องบอกว่าตรวจน้ำคร่ำแม่นยำกว่า 99.4% บางครั้งการตรวจอาจไม่ได้ผลตามคาดเนื่องจากความผิดพลาดทางเทคนิค เช่น เก็บตัวอย่างน้ำคร่ำได้น้อยเกินไป ทั้งนี้การเจาะน้ำคร่ำมีข้อระมัดระวังอันตราย ซึ่งเสี่ยงกับการแท้งบุตร แต่ก็เป็นความเสี่ยงน้อยกว่า 1% เป็นต้น
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.รีวิวผ้าอ้อมเด็ก Enfant ใช้คุ้ม! ยิ่งซักยิ่งนุ่ม Anti-Bacteria ได้ด้วย