เมื่อลูกเริ่มก้าวร้าว เมื่อลูกน้อยเริ่มเติบใหญ่ ความสนใจ และความต้องการของลูกจึงเปลี่ยนแปลงตามอายุ จนบางครั้งอาจรวดเร็วจนคุณตามไม่ทัน ทำให้เกิดความขัดแย้งความไม่เข้าใจกัน จนทำให้คุณต้องพูดจาดุดันใส่ลูก ขู่ลูก แต่เหมือนกับลูกไม่ยอมฟัง เริ่มท้าทาย และเริ่มก้าวร้าวมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ย่อมเจอกันทุกคน สำหรับวันนี้เรามีวิธีช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกได้อย่างมืออาชีพมาฝากค่ะ
เมื่อลูกเริ่มก้าวร้าว
วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อย
1.เน้นการสอนมากกว่าการข่มขู่
พฤติกรรมก้าวร้าวนี้ คุณจะต้องเน้นสอนให้พวกเขารู้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ดี ไม่เหมาะสมและไม่ควรทำต่อหน้าผู้ใหญ่หรือใครก็ตาม ควรพูดคุยอธิบายและทำความเข้าใจในเรื่องทุกลูกคิดผิด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ปฏิบัติไปตามแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม การสอนจะทำให้ลูกได้จดจำและนำมาปรับใช้กับตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นผู้ให้คำอธิบาย และเป็นผู้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาแต่ดุ ว่า หรือข่มขู่ เพราะนั่นยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน ก้าวร้าวมากขึ้นได้
2.แก้ไขให้รวดเร็ว ไม่ควรปล่อยประละเลย
เมื่อคุณเห็นลูกแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และไม่เหมาะสมขออย่ามองข้าม ควรเริ่มพูดคุยกับลูกให้รู้เรื่องว่าการกระทำของลูกนั้น ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ลูกควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นใหม่ และคุณจะต้องแนะนำแนวทางให้กับลูกด้วยนะคะ เพื่อให้พวกเขากับมาแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและถูกกาลเทศะต่อไป ทั้งนี้บางครอบครัวที่เห็นลูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม แล้วไม่ยอมตักเตือน หรือบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ควรทำ เมื่อนาน ๆ เข้าเด็ก ๆ อาจคิดว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง และแสดงพฤติกรรมไม่ดีเหล่านี้ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่จะติดตัวพวกเขาไปจนกลายเป็นผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น รีบบอกทันทีที่เห็นว่ามีพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม
3.กำหนดมาตรฐานเดียวกันทั้งครอบครัว
การที่คุณจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก คุณต้องมีกฎหรือบทลงโทษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เวลาลูกทำผิด คุณแม่กำลังลงโทษตักเตือนอยู่ แต่คุณพ่อกลับให้ทายแก้ต่างแทน หรือไม่ตำหนิพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก การกระทำเช่นนี้ส่งผลเสียต่ออนาคตของลูกในระยะยาวได้ ดังนั้น เพื่อให้ลูกเข้าใจและปฏิบัติตามกฎของครอบครัวที่ตั้งไว้
4.สร้างความเข้าใจเกี่ยวการเข้าสังคม
การเข้าสังคมถือเป็นเรื่องสำคัญที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้และอยู่กับคนในสังคมนั้นได้ ถ้าลูกของคุณมีนิสัยที่ก้าวร้าว การอยู่ร่วมกันกับสังคมคงเป็นไปได้อย่าง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม เริ่มความรู้พื้นฐานง่าย ๆ โดยการให้ลูกรู้จักการทักทายผู้อื่น รู้จัดพูดขอบคุณเมื่อมีคนให้ของ หรือมีใครทำอะไรให้ และกล่าวขอโทษเมื่อลูกทำผิด คุณแม่อาจจะสอนให้ลูกได้รู้จักคำ 3 คำให้ติดปาก นั่นคือ คำว่า ขอบใจ ขอบคุณ และขอโทษ เพื่อให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมได้อย่างราบรื่นและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมนั้น ๆ ได้
5.พูดกับลูกอย่างสุภาพ
ทุกคำที่คุณพูดกับลูก ลูกจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ยิ่งคุณเป็นคนพูดจากดี สุภาพ ลูกก็จะจดจำและพูดแต่สิ่งที่ดี ๆ สามารถเข้ากับผู้อื่นๆ ได้ ใครเห็นใครก็รัก แต่ถ้าลองคิดกับกลับถ้าครอบครัวนั้นมีแต่คนที่พูดจาไม่สุภาพ พูดคำด่าคำ อย่างนี้เมื่อลูกเข้าสังคมเพื่อน ลูกก็จะเลือกพูดแต่คำไม่สุภาพ พูดคำด่าคำจนกลายเป็นนิสัย ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งพูดจาไม่ดี อย่างนี้ลูกของคุณจะไม่สามารถเข้าสังคมได้ และที่สำคัญจะไม่สามารถหางานทำที่ดี ๆ ได้อีกด้วย
6.อย่าคาดหวังกับลูกมากไป
ไม่ว่าจะเรื่องเรียน เรื่องสังคม หรืออื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรคาดหวังในตัวของลูกจนมากเกินไป ควรเผื่อใจไว้บ้าง เพื่อให้พวกเขาได้มีที่ว่างในการปรับตัวและก้าวเดินต่อไปได้ เพราะสาเหตุหนึ่งของการแสดงความก้าวร้าวของลูกนั้น ก็มาจากการที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังในตัวลูกมากเกินไป เมื่อคาดหวังแล้วลูกไม่สามารถทำได้ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกเครียด และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาในที่สุดนั่นเองค่ะ
7.ค่อย ๆ พูดจากับลูก เมื่อลูกแสดงความก้าวร้าวออกมา
คุณพ่อ คุณแม่จะต้องพยายามพูดกับรู้ให้เข้าใจถึงเห็นและผล และค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ อธิบายด้วยน้ำเสียงที่มั่นคง ไม่ดุดัน หรือตะคอก เพราะนั่นอาจทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมาต่อต้านและไม่ยอมฟังเหตุผลได้ การพูดจาด้วยภาษาที่สุภาพและนุ่มนวลจะช่วยให้ลูกเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ให้ดีขึ้นได้
8.พูดถึงอนาตคต เมื่อลูกอารมณ์ดีขึ้น
หลังจากที่ลูกอารมณ์ดีขึ้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกด้วยเหตุและผล ให้พวกเขารู้ว่าการทำเช่นนี้มีผลอย่างไรในอนาคต โดยการยกตัวอย่างเพื่อให้ลูกเข้าใจได้ง่าย ๆ เช่น การที่ลูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อสังคม ในอนาคตลูกจะไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมเหล่านั้นได้
9.อย่าเก็บไปคิด เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนำสิ่งเหล่านั้นมาเก็บไว้คิด ควรมองว่าลูกยังเด็กเกินกว่าจะเข้าใจและควบคุมตัวเองได้ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องชี้แนวทางให้กับลูก อย่านำเรื่องเดิม ๆ ที่ลูกเคยทำผิดพลาดมาว่าตอกย้ำ เพราะบางทีลูกอาจพยายามทำดีที่สุดแล้ว แต่ตอนนั้นพวกเขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้จริง ๆ ก็เป็นไปได้ค่ะ
นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะเป็นผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความเข้าใจและสอนลูกด้วยความรัก ก่อนที่จะให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นผู้แสดงถึงพฤติกรรมดี ๆ เป็นแบบอย่างที่เหมาะสมและถูกต้อง ถึงจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมเป็นไปตามที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังไว้
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..