จอประสาทตาเสื่อมในเด็ก .. ดวงตา อวัยวะเล็ก ๆ ของร่างกายที่สำคัญ เป็นตัวกลางแห่งการเรียนรู้ ถ้าเกิดความผิดปกติไปอาจจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง การใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ จะทำให้ลูกสามารถเรียนรู้ และรู้ได้ถึงทุกอย่างรอบตัว สำหรับคุณแม่ยุคใหม่ ที่หลาย ๆ ครั้งอาจลืมคิดไปว่า บางอย่างอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย
จอประสาทตาเสื่อมในเด็ก
โลกยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นยุคไฮเทค มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ฯลฯ ประกอบกับการไม่มีเวลาของคุณแม่ที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น นอกจากเลี้ยงลูกแล้วอาจต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางการเงิน จึงเลือกวิธีที่ง่ายและส่งผลเสียในระยะยาว นั่นคือ การให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ ให้ลูกดูการ์ตูนผ่านมือถือ และโทรทัศน์เป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้จอประสาทตาของลูกเสื่อมลงได้ค่ะ คุณแม่ยุคใหม่ควรอ่านรายละเอียดด้านล่างนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะทำแบบเดิมหรือจะเปลี่ยนวิธีการในการเลี้ยงดูเสียใหม่ มาดูกันเลยค่ะ
ภาวะกลุ่มอาการ CVS ที่พบในเด็กเป็นอย่างไร
กลุ่มอาการของโรคสายตาที่พบในเด็ก ซึ่งมีชื่อว่า “CVS (Computer Vision Syndrome)” หรืออาการทางตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป เช่น อาการปวดตา ตาล้า แสบตา ระคายเคืองตา ตาแดงเป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการตามัวชั่วคราว อาการดังกล่าวล้วนจัดอยู่ในกลุ่มของโรค CVS ทั้งสิ้นค่ะ
แต่เดิมอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงผู้ใหญ่ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา แต่ในปัจจุบันพบว่า กลุ่มอาการนี้ส่วนมากเป็นเด็กที่มีอายุไม่ถึง 15 ขวบด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณแม่ยุคใหม่ควรทราบถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกน้อยสายตาสั้นได้ในอนาคต ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมตามนี้เลยค่ะ
พฤติกรรมเสี่ยงต่อสายตาสั้นในเด็ก
ภาวะสายตาสั้นในเด็กอาจเกิดมาจากพฤติกรรมบางอย่างที่ ส่งผลให้ต้องใช้สายตามากเป็นพิเศษ โดยมีผลการศึกษาที่รายงานมาว่า เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสายตาสั้นนั้น คุณแม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกดังนี้ค่ะ
- เด็กที่มีกิจกรรมการใช้สายตาในระยะใกล้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าลูกจะมีโอกาสสายตาสั้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็นได้ค่ะ เพราะตาต้องโฟกัสอยู่ตลอดเวลา
- เด็กที่ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เด็กที่ไม่ชอบเล่นกีฬา พบว่ามีโอกาสสายตาสั้นได้มากกว่าหรือสายตาสั้นจะพัฒนาเร็วกว่าเด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง จากการศึกษาที่กล่าวว่า วิตามินดีในแสงแดดอาจเป็นปัจจัยที่ดีในการช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กได้ค่ะ
ผลกระทบต่อสายตาของลูกน้อยจากการเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
ในความเป็นจริงนั้น การที่ลูกน้อยเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้มีเฉพาะสายตาที่เสื่อมสภาพลงเท่านั้น แต่อาจมีปัญหาทางด้านอารมณ์ สังคม และสมาธิในการเรียนรู้ด้วยค่ะ ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบเล่นคอมพิวเตอร์ หรือถ้าให้เล่นก็ไม่ควรเกิน ครั้งละ 20 – 30 นาที หรือวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมงค่ะ เนื่องจากไม่มีประโยชน์ในด้านพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว เด็กยังเสี่ยงต่อการเกิดอารมณ์แปรปรวนได้อีกด้วย ะ
ความผิดปกติทางสายตาคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้
เมื่อลูกมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสายตาสั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบความผิดปกติดังกล่าว คุณแม่จะได้พาลูกไปพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันทีค่ะ พฤติกรรมที่เสี่ยงเกิดความผิดปกติทางสายตาบ้างมาดูกันค่ะ
- เมื่อพบว่าลูกจดการบ้านผิด หรือคุณครูบอกว่าเด็กต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อมองกระดาน แล้วหยีตาจึงจะมองเห็น อย่างนี้อันตรายต่อสายตาสั้น คุณแม่จะต้องพาไปปรึกษาแพทย์ เพื่อนำมาปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมค่ะ
- ทุกครั้งที่ทำการบ้าน ลูกจะต้องก้มลงอ่านหนังสือใกล้ตามากผิดปกติ หรือเมื่อดูโทรทัศน์ลูกจะต้องขยับไปใกล้ ๆ เพื่อจะได้มองเห็นอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นระยะอันตราย คุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันทีเช่นกันค่ะ
- หรือบางครั้งลูกมีการมองเห็นชัดเพียงข้างเดียว ลักษณะอาการเช่นนี้อาจบ่งชี้ว่าลูกมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสายตาขี้เกรียจได้ในอนาคตค่ะ
ทั้งนี้เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเสี่ยงดัวกล่าว แล้วเกิดความกังวลอย่างมาก แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที จากนั้นจึงค่อยพาลูกไปตรวจเพื่อหาสาเหตุของอาการจะได้รับการรักษาอย่างตรงจุดและรวดเร็วที่สุด ก่อนที่อะไร ๆ จะสายเกินไปนะคะ แต่ถ้าคุณแม่สามารถป้องกันได้ก่อนก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด สำหรับวิธีป้องกันความผิดปกติทางสายตา คุณแม่ลองปฏิบัติตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ดูค่ะ
วิธีป้องกันความผิดปกติทางสายตาของลูกน้อย
- ตรวจสายตาเป็นประจำ คุณแม่สามารถหาความผิดปกติทางสายตาของลูกได้ทุกวัน โดยการทดสอบสายตา และจดบันทึก เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นคุณแม่ลองหาสาเหตุของปัญหาให้เจอ จากนั้นจึงค่อยไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไปค่ะ
- เมื่อลูกมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน คุณแม่ควรจะจัดเตรียมจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม และปรับแสงสว่างให้เหมาะสม หากที่ป้องกันแสงสะท้อนมาติดป้องกันไว้อีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้ามีแสงสะท้อนจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป และปรับตำแหน่งของแสงให้เหมาะสม เช่น โคมไฟ ควรจะอยู่ในตำแหน่งที่แสงไม่สามารถสัมผัสกับจอประสาทตาโดยตรงค่ะ
- ให้ลูกกะพริบตาบ่อย ๆ โดยธรรมชาติของคนเรานั้น จะกระพริบตา 10 – 15 ครั้งต่อนาที และเมื่อกะพริบตา 1 ครั้ง จะทำให้น้ำตาออกมาเคลือบตา ช่วยให้การมองเห็นภาพชัดขึ้นค่ะ แต่ถ้าลูกต้องตั้งใจมองอะไรเป็นเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือ การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะทำให้การกะพริบตาลดลง ส่งผลให้ระคายเคืองตา และมองภาพไม่ชัด ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตามาก จนเกิดอาการตาล้าได้ในที่สุดค่ะ
- ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึงมือถือแทบเล็ต ไม่ให้มีขนาดเล็กเกินไป เน้นให้ตัวอักษรอ่านได้ง่าย ในเวลานาน ๆ
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงสีฟ้า เช่น แว่นตา แผ่นฟิล์ม หรือจอกรองแสง เพื่อลดการกระทบของแสงสีฟ้าจากแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
- กำหนดระยะห่าง ระหร่างสายตากับหน้าจอให้เหมาะสม เพื่อลดการใช้จอประสาทตาที่มากเกินไป จนเกิดอาการล้าของตา ซึ่งคุณแม่สามารถปกป้องสายตาของลูกน้อยได้ โดยการจัดระห่างให้เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือ แท็บเล็ต หรือหน้าจอมือถือ ควรให้ห่างประมาณ 1 ฟุตค่ะ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรจะให้ห่างประมาณ 2 ฟุต สำหรับการดูโทรทัศน์ควรห่างประมาณ 10 ฟุต การจัดระยะห่างที่เหมาะสม จะช่วยให้สุขภาพสายตาที่ดีสำหรับลูก ๆ
เรื่องสายตาของลูกเป็นสิ่งสำคัญ การที่ลูกมีสายตาดีเป็นปกติจะช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้โลกกว้างได้อย่างเต็มที่ สามารถสื่อสารความรู้สึกผ่านการมองเห็นอย่างมีศักยภาพ ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญและควรเฝ้าระวังอยู่เสมอก็คือ ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ด้านพฤติกรรม และด้านอารมณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่มีผลกับอนาคตของลูกในระยะยาวค่ะ
ขอบคุณรูปภาพ : verywell
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..