อายุของน้ำนมแม่ จะสั้นหรือยาวนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง ยิ่งถ้าเก็บรักษาดีก็จะยืดอายุของน้ำนมแม่ได้ยาวนานเลยค่ะ ส่วนอายุของน้ำนมแม่ในการเก็บแต่ละแบบจะเก็บได้นานเท่าไหร่นั้น ลองดูตามข้อมูลด่านล่างนี้เลยค่ะ
ห้องที่เก็บรักษา อุณหภูมิ เวลาที่สามารถเก็บรักษาได้
ห้องปกติ อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ 1 ชั่วโมง
ห้องแอร์ อุณหภูมิน้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ 4 ชั่วโมง
กระติกน้ำแข็ง อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บได้ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน
ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 0 – 4 องศาเซลเซียส เก็บได้ 2 – 3 วัน
ตู้เย็นช่องแช่แข็งแบบประตูเดียว อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียส เก็บได้ 2 สัปดาห์
ตู้เย็นช่องแช่แข็งแบบประตูแยก อุณหภูมิ -4 องศาเซลเซียสขึ้นไป เก็บได้ 3 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ อุณหภูมิ -19 องศาเซลเซียส เก็บได้ 6 เดือน
จากข้อมูลนี้คุณแม่คงเห็นแล้วว่า หากต้องการเก็บรักษาน้ำนมไว้ให้ได้นาน ๆ ควรแช่แข็งเก็บไว้ในตู้เย็นชนิดพิเศษ แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้เก็บน้ำนมไว้สูงสุดเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นค่ะ เพราะน้ำนมแม่จะถูกผลิตขึ้นมาใหม่ในทุกวัน ซึ่งแน่นอนว่า เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยอยู่แล้ว ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรเก็บน้ำนมไว้นาน ๆ หากเป็นไปได้แนะนำให้เก็บเผื่อไว้ 1 – 2 วันก็พอค่ะ
อายุของน้ำนมแม่
ขั้นตอนการเก็บรักษาน้ำนมแม่ในตู้เย็น
- ภาชนะทุกชนิดที่นำมาใช้ควรผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้ง แนะนำให้ใช้ถุงเก็บนมโดยเฉพาะ เพราะนอกจากจะทำให้นมแข็งเร็วแล้ว การละลายยังทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วยค่ะ แต่สำหรับภาชนะที่เป็นแก้วนั้น เราไม่แนะนำนะคะ นั่นเพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการติดเชื้อ อาจจะติดอยู่กับแก้วที่ใช้เป็นภาชนะได้
- ติดฉลากที่ข้างถุงเก็บน้ำนมแม่ทุกครั้ง โดยกำกับด้วยว่า นมปั๊มวันที่เท่าไหร่ เวลาอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ และคุณแม่จะได้รู้ว่าถุงไหนปั๊มก่อน และถุงไหนปั๊มทีหลัง เพื่อให้การเก็บรักษานมเป็นไปตามระบบนั่นเองค่ะ
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปั๊มน้ำนม อุปกรณ์ทุกอย่างที่นำมาใช้ต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันแบคทีเรียที่อาจจะปนเปื้อนในน้ำนมแม่ได้
- หากคุณแม่ต้องการแช่แข็งน้ำนมที่ปั๊ม ควรทำทันทีหลังจากที่ปั๊มเสร็จ และไม่ควรปั๊มจนเต็มถุง ควรเหลือที่ว่างเอาไว้ด้วยนะคะ เพราะเมื่อแช่แข็งแล้ว น้ำนมจะขยายตัวขึ้น
จากขั้นตอนข้างต้นไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมล่ะคะ เราเชื่อว่าคุณแม่มือใหม่ก็สามารถทำตามได้แบบสบาย ๆ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการนำนมแช่แข็งมาใช้ ลองทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนการนำน้ำนมแม่แช่เย็นมาใช้อย่างถูกต้อง
- นำน้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้มาแช่ในตู้เย็นช่องปกติประมาณ 12 ชั่วโมง
- จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนนำมาให้ลูกกิน ไม่ควรนำไปอุ่นด้วยการนำเข้าไมโครเวฟ หรือละลายในน้ำร้อยจัด เพราะจะเป็นการทำลายเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในนมแม่
- น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้ เมื่อละลายแล้ว สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 24 ชั่วโมง และที่สำคัญน้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีกนะคะ
- น้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว หากลืมวางไว้ ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไปเลยค่ะ ไม่ควรเก็บไว้เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้
- เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บนมแม่ก็ได้เช่นกัน แต่ควรเขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้อย่างชัดเจนทุกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ และควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับหนึ่งมื้อที่ลูกน้อยกินด้วยค่ะ
ขั้นตอนการละลายน้ำนมแม่ คุณแม่ต้องระวังอย่าปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองในอุณหภูมิห้องปกติค่ะ เพราะกว่านมแม่จะละลาย สารอาหารที่อยู่ในนมแม่จะลดลง และเมื่อปล่อยทิ้งไว้เกิน 1 ชั่วโมง อาจจะทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสารอาหารบางอย่างในน้ำนมแม่ จะถูกทำลายจากการแช่แข็ง แต่การให้ลูกน้อยกินนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งยังมีประโยชน์และสารอาหารจำเป็นมากกว่านมผสมนะคะ หากเป็นไปได้การดูดจากเต้าแม่โดยตรงนั้นดีที่สุด เพราะนอกจากลูกจะได้คุณภาพของน้ำนมครบถ้วนแล้ว ยังเพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกน้อยได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..