เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อลูกน้อยได้มากทีเดียว โดยวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า การที่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากันนั้นเกิดจากอะไร และอันตรายมากแค่ไหน จะมีวิธีการป้องกันหรือไม่ ซึ่งก็มีข้อมูลดังนี้
เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน คืออะไร
กรุ๊ปเลือดคือสิ่งที่ถูกถ่ายทอดตั้งแต่คุณพ่อคุณแม่ไปสู่ลูกน้อย หากเกิดภาวะคุณแม่และลูกน้อยมีเลือดไม่ตรงกัน เป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมาหลายๆ อย่าง จุดหนึ่งที่ต้องระวังเลยคือการรับเลือดในกรณีที่เร่งด่วนอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ต่างๆ คือพูดง่ายๆ ไม่สามารถให้เลือดกันได้นั่นเอง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นการตรวจความเข้ากันของเลือดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้
การไม่เข้ากันของหมู่เลือด ABO
เป็นเรื่องที่พบบ่อย และเป็นอันตรายได้แก่ การไม่เข้ากันของหมู่เลือด ยกตัวอย่างเช่นตัวคุณแม่มีเลือดเป็นกรุ๊ป O แต่ลูกน้อยมีกรุ๊ปเลือดที่แตกต่างออกไปเป็น A หรือ B กรณีนี้เม็ดเลือดแดงของลูกน้อยจะมีแอนติเจนที่คุณแม่ไม่มี เมื่อแอนติเจนของลูกน้อยเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายคุณแม่ เกิดการกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่มีการสร้างแอนติบอดี้เพื่อเข้าผ่านรกไปยังตัวลูกน้อยเพื่อจับเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ถ้ามีการทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เจ้าตัวเล็กจะมีอาการบวม หัวใจวาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือไม่หากคลอดออกมาลูกน้อยจะมีอาการซีดเหลือง ถ้าไม่ได้รับการรักษาได้อย่างท่วงทันสามารถก่อให้เกิดความพิการทางสมองได้ค่ะ
การไม่เข้ากันของหมู่เลือด Rh
ในส่วนของการไม่เข้ากันของเลือดในกลุ่ม RH Negative หากคุณพ่อมีกลุ่มเลือด RH Positive มีโอกาสสูงที่เลือดของเจ้าตัวเล็กมีกลุ่มเลือดเป็น RH Positive เหมือนกับคุณพ่อ แน่นอนว่าถ้าเกิดกรณีแบบนี้จะมีปัญหาเลือดคุณแม่เจ้าตัวเล็กไม่ตรงกันอย่างแน่นอน ตัวทารกเองจะมี Antigen-D (แอนติเจน-ดี ) อยู่บริเวณผิวของเม็ดเลือดแดงซึ่งไม่ได้มีในคุณแม่ ทำให้ร่างกายของคุณแม่มีการตรวจจับ แอนติเจน-ดี ขึ้นมาว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมอัตโนมัติ รวมไปถึงมีการสร้างภูมิต้านทานเม็ดเลือดแดงของลูกน้อยสาเหตุมากจากการมีกลุ่มเลือกที่ไม่เข้ากันของคุณแม่และเจ้าตัวเล็ก ร่ายกายคุณแม่เองก็จะค่อยๆสร้างภูมิต้านทานไปเรื่อยๆเพื่อทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูก เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม หากเป็นลูกคนแรกไม่ค่อยมีผลกระทบสักเท่าไหร่อย่างมาก็มีอาการตัวเหลือง
สำหรับลูกคนที่ 2 ร่างกายคุณแม่ก็จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมากอีกในปริมาณที่เยอะกว่าเดิม โดยที่ครั้งนี้มากพ่อที่จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงภายในร่างกายลูกน้อยให้เกิดการแตกตัวได้ ภูมิต้านทานตัวนี้จะเข้าไปยังกระแสเลือดแดงผ่านทางรก ส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงของลกน้อยมีการตกตะกอน ลูกน้อยมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง ( Erythroblastosis Fetalis ) บางรายอาจแท้งได้ ในขณะที่บางเคสเกิดสภาวะหัวใจทำงานหนัก เนื่องจากเลือดมีการสูบฉีดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลูกน้อยอาจมีอาการบวมน้ำ ตับโต ม้ามโต และหัวใจวายได้ ร้ายแรงกว่านั้นคือเป็นดีซ่าน เมื่อคลอดออกมามีอาการโลหิตจางและเสียชีวิตในที่สุด สิ่งเหล่านี้จะเรียกว่าการไม่เข้ากันของกรุ๊ปเลือด Rh (Rh incompatibility)
หมู่เลือดไม่เข้ากัน ส่งผลต่อลูกน้อยอย่างไร
- ลูกคนแรกไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่สำหรับลูกคนที่ 2 เสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง
- ลูกน้อยบางรายเมื่อเม็ดเลือดแดงถูกตีแตก อาจก่อให้เกิดอาการแท้งได้
- สำหรับลูกน้อยที่คลอดออกมาอาจเป็นดีซ่านและโรคโลหิตจางอันตรายถึงชีวิต
วิธีป้องกัน ทำได้อย่างไร
1. ไปฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งท้อง เพื่อที่คุณหมอจะได้มีการตรวจเช็คร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยอย่างละเอียดเป็นการป้องกันการที่คุณแม่และลูกน้อยมีเลือดไม่เข้ากันในหมู่ Rh
2. กรณีที่คุณหมอมีการตรวจพบว่าคุณแม่และลูกน้อยมีเลือดไม่เข้ากัน จะทำการป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณแม่สร้างภูมิต้านทานเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกน้อยด้วยการฉีดยาRh immunoglobulin (Rhig) ลดการสร้างภูมิต้านทานเมื่ออายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 72 ชั่วโมง
3. คุณแม่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ที่สำคัญหมั่นไปตามที่คุณหมอนัดจะได้อยู่ภายใต้การดูแลของหมอ
เลือดคุณแม่กับลูกน้อยไม่เข้ากันนั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่คุณแม่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ อย่าลืมที่จะไปฝากท้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ และดูแลตัวเองนะคะ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังในเวลาที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..