คุณแม่คงเคยได้ยินเกี่ยวกับน้ำคร่ำกันกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ โดยน้ำคร่ำมีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์เป็นไปได้อย่างสะดวก และเป็นเสมือนเกราะที่คอยป้องกันอันตรายไม่ให้มากระทบถึงทารก รวมถึงช่วยควบคุมอุณหภูมิและรักษาความสมดุลของร่างกายอีกด้วย แต่หากน้ำคร่ำน้อยจะส่งผลอย่างไร อันตรายหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจกัน
น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร
การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกน้ำคร่ำมาจากถุงการตั้งครรภ์ แต่เมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 น้ำคร่ำส่วนใหญ่มาจากปัสสาวะของลูก หลังจากลูกได้กลืนน้ำเข้าไปและถูกสร้างเพิ่มขึ้นทุกวันจนเมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำคร่ำที่มีอยู่ก็จะเริ่มลดลงมาเรื่อยๆ จนอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ครบกำหนดคลอดพอดี หากคุณแม่ที่มีการคลอดทารกเกิน 40 สัปดาห์ก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้น้ำคร่ำลดลงได้ นอกจากนี้การที่มีน้ำคร่ำน้อยยังทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการจากการกดทับ เช่น มีรูปหน้าผิดรูป แขนขาผิดรูป และที่พบได้บ่อยคือการมีเท้าปุก และภาวะปอดแฟบนั่นเอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้น้ำคร่ำมีปริมาณน้อยได้แก่
1.ทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม
ส่วนใหญ่เกิดมาจากความผิดปกติของไต ที่เกิดการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือไตไม่พัฒนาจนทำให้ทารกไม่มีปัสสาวะออกมามากพอ จึงเป็นสาเหตุทำให้น้ำคร่ำมีน้อย หรือน้ำคร่ำไม่มีเลยก็เป็นได้
2.แม่มีอายุครรภ์แก่
แม่ที่มีอายุครรภ์เกินกำหนด ก็เป็นสาเหตุของน้ำคร่ำน้อยได้ นอกจากนี้ก็อาจจะเกิดจากถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกก่อนกำหนด เกิดภาวะน้ำคร่ำขาด หรือในบางรายคุณแม่อาจจะดื่มน้ำน้อย ทำให้น้ำไม่เพียงพอที่จะส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ จนเป็นสาเหตุทำให้น้ำคร่ำมีปริมาณน้อยได้ ส่วนปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การมีภาวะครรภ์เป็นพิษ และคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวซึ่งต้องกินยาบางชนิด จึงอาจส่งผลให้น้ำคร่ำน้อยก็เป็นได้เช่นกัน
3.รกเกิดเสื่อมสภาพ
ในทารกที่มีน้ำคร่ำปริมาณน้อยจากรกเสื่อมสภาพจะทำให้ขาดออกซิเจนเรื้อรัง บางรายขาดสารอาหารจนการเจริญเติบโตช้าลง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของทารกที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามวัยได้ ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรสังเกตตัวเองว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือไม่ โดยให้สังเกตดังนี้
1. คุณหมอตรวจครรภ์แล้วพบว่า ขนาดหน้าท้องเล็กกว่าปกติ ไม่สมดุลกับช่วงอายุครรภ์
2. ตรวจอัลตร้าซาวด์ เมื่อวัดปริมาตรน้ำคร่ำตามมาตรฐานเทียบเคียงจากการอัลตร้าซาวด์ แล้วพบว่ามีน้อยกว่า 5 cm
นอกจากนี้ต้องสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่นการนับอัตราการดิ้นของลูก ซึ่งเมื่อพบว่าเด็กดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นควรพบแพทย์ทันที และสังเกตน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอย่างน้อยควรเพิ่มสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม หากน้อยกว่านี้หรือน้ำหนักลดลงให้สงสัยเลยว่าอาจจะเกิดจากภาวะน้ำคร่ำน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
การรักษาภาวะน้ำคร่ำน้อย
ภาวะน้ำคร่ำมีปริมาณน้อยอาจเกิดจากความผิดปกติของทั้งตัวแม่เองและทารกในครรภ์ รวมถึงรกผิดปกติก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตั้งครรภ์จึงต้องถูกซักประวัติถึงโรคประจำตัว ยาที่กินเป็นประจำ รวมถึงภาวะโภชนาการของแม่ ว่าปฏิบัติตัวแบบไหนก่อนตั้งครรภ์ กินอาหารที่มีประโยชน์หรือไม่ โดยคุณหมอจะประเมินจากขนาดของมดลูกว่า โตสอดคล้องกับอายุครรภ์หรือไม่ พร้อมทั้งมีการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูความพิการของทารกในครรภ์ รวมถึงการตรวจสุขภาพทารกและตรวจวัดดัชนีของน้ำคร่ำ ซึ่งหลังจากคุณหมอตรวจประเมินแล้วพบว่าคุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำมีปริมาณน้อยผิดปกติ ก็จะทำการรักษาตามช่วงอายุครรภ์ดังนี้
1.อายุครรภ์น้อยๆ ตั้งแต่ไตรมาสที่สอง
คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2 โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาด้วยการเติมน้ำคร่ำเข้าไปในถุงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันผลแทรกซ้อนที่รุนแรงมาจากการกดทับของสายสะดือ
2.อายุครรภ์ไตรมาสที่สาม
แบ่งเป็น3 กรณี
- อายุครรภ์ครบกำหนดแล้ว ตรวจพบน้ำคร่ำน้อยมากและตรวจพบว่าอยู่ในภาวะอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ทางคุณหมอจะพิจารณาช่วยทำคลอดทันที
- อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด แต่เป็นช่วงอายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์ ช่วงนี้ปอดของทารกได้พัฒนาไปมากแล้ว แพทย์ตรวจพิจารณาตรวจวัดค่าน้ำคร่ำและตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ หากพบว่ามีความผิดปกติก็จะพิจารณาให้คลอดทันที
- อายุครรภ์น้อยกว่าช่วงที่ปอดทารกจะพัฒนาแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงน้อยกว่า 34 สัปดาห์ ทางแพทย์จะพิจารณาฉีดยาให้คุณแม่เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการของปอดทารก โดยมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและแพทย์จะพิจารณาให้ตลอดหากพบมีความผิดปกติของสุขภาพทารกในครรภ์
เมื่อแม่ท้องน้ำคร่ำมากผิดปกติ จะส่งผลกับลูกในครรภ์อย่างไร
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์การดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอทำ จิตใจให้ผ่อนคลายจากความเครียด รวมถึงการไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ภาวะความเสี่ยงจากการมีน้ำคร่ำน้อยลดลงได้มาก ทั้งนี้สุขภาพโดยรวมของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีได้ ส่วนใหญ่ก็มาจากการดูแลตัวเอง และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกตายคาท้อง เพราะพยาบาลไม่ใส่ใจ แม่สลด!! ร้องขอความเป็นธรรม
2.เตือนภัย!! ลูกเกือบตาย เพราะอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ทันคาดคิด