อาการครรภ์เป็นพิษ ที่เกิดกับคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เป็นภาวะเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อเป็นแล้วจะมีอันตราย ต่อชีวิตของแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวอาการของครรภ์เป็นพิษมาบอกให้รู้กันว่าเป็นอย่างไร มีอาการแบบไหนบ้าง เพื่อที่คุณแม่จะได้สังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษหรือไม่นั่นเอง
8 อาการของครรภ์เป็นพิษ มีอะไรบ้าง
อาการของครรภ์เป็นพิษในคุณแม่แต่ละราย มีความแตกต่างกันไปตามสภาวะของร่างกายแต่ละคน ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่แสดงให้เห็นจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยขึ้นไป จนถึงอาการรุนแรง ซึ่งอาการที่พอจะสังเกตได้มีดังนี้
1.ความดันโลหิตสูงขึ้นตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป โดยมีการตรวจวัดความดันที่อยู่ในระดับนี้ตั้งแต่ 2 ครั้ง และมีระยะห่างในการวัดความดันแต่ละครั้งอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
2.ตรวจพบโปรตีนหรือไข่ขาวส่วนเกินในปัสสาวะ นอกจากโปรตีนไข่ขาวแล้ว อาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยที่แสดงว่าไตเริ่มมีปัญหา
3.ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าจะได้กินยาแก้ปวดแล้วก็ตาม อาการก็ยังไม่ลดลง อีกทั้งยังปวดบริเวณหน้าผากและท้ายทอยมากขึ้นด้วย
4.ชักกระตุกทั้งตัว ในคุณแม่ที่มีอาการรุนแรงจะทำให้มีอาการชักและกระตุกได้
5.มีปัญหาทางสายตา ทำให้มีอาการตาพร่ามัว และไวต่อแสงผิดปกติ
6.การหายใจไม่อิ่ม เนื่องจากปอดมีของเหลวอยู่ภายใน
7.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการปวดท้องส่วนบน บริเวณใต้ลิ้นปี่
8.มีอาการบวม ช่วงนี้คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษจะมีอาการบวมน้ำตามร่างกายที่พบได้ เช่นใบหน้าบวม มือบวม ข้อเท้าบวม รวมถึงหลังเท้าบวม อีกด้วย
ครรภ์เป็นพิษ รุนแรงแค่ไหน
ความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับดังนี้
1.ระดับไม่รุนแรง
คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษจะมีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90-160/110 มิลลิเมตรปรอท แต่มักไม่พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
2.ระดับรุนแรง
คุณแม่ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษจะมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/110 มิลลิเมตรขึ้นไป รวมทั้งการตรวจพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้น เช่น มีตับอักเสบร่วมด้วย ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ไตทำงานได้ไม่ดี รวมถึงเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย
3.ระดับอันตราย
คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษ จะมีอาการชัก เกร็ง และถึงขั้นหมดสติ ในระยะนี้จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
ภาวะแทรกซ้อนของอาการครรภ์เป็นพิษที่พบได้มีด้านใดบ้าง
1.ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
อาการของครรภ์เป็นพิษ ส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับรก ทำให้รกได้ออกซิเจนรวมถึงสารอาหารไม่เพียงพอ จึงเติบโตช้า หรือในบางรายอาจจะทำให้ทารกคลอดออกมาแล้ว มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
2.คลอดก่อนกำหนด
คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษรุนแรง อาจจำเป็นต้องทำการคลอดก่อนกำหนด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่รวมถึงลูกในท้องด้วย สำหรับการทำคลอดก่อนกำหนดครั้งนี้ อาจทำให้ลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบการหายใจและด้านอื่นๆ ได้
3.รกลอกตัวก่อนกำหนด
อาการครรภ์เป็นพิษ เกิดจากภาวะที่รกหลุดลอกจากโพรงมดลูกก่อนถึงกำหนดที่ลูกน้อยจะคลอด จึงทำให้มีความเสี่ยงในคุณแม่ เพราะอาจเกิดเลือดออกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งสองคนได้
4.กลุ่มอาการ HELLP
เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากอาการครรภ์เป็นพิษ ที่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อย ซึ่งจะทำให้เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดแดงแตก ค่าตับมีโอกาสอักเสบสูงขึ้น รวมถึงมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเกิดความเสียหายในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
5.ชัก
หากคุณแม่มีอาการรุนแรง มีอาการปวดศีรษะมากจนทนไม่ไหว และถึงขั้นชักหมดสติ จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที
6.อวัยวะได้รับความเสียหาย
อาการ ครรภ์เป็นพิษ มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เสื่อมลง ส่งผลเสียหายต่อร่างกายอย่างรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ง่าย
7.โรคหัวใจและหลอดเลือด
อาการครรภ์เป็นพิษ มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้มาก หากคุณแม่เคยมีประวัติมีภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อนมากกว่า 1 ครั้ง หรือเคยคลอดก่อนกำหนด ก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้สูง
วิธีการรักษา
วิธีการรักษาอาการครรภ์เป็นพิษในคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถทำได้ตามระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแยกได้ดังนี้
1.การรักษาอาการครรภ์เป็นพิษในระดับไม่รุนแรง
หลังจากได้รับการตรวจรักษาแล้ว แพทย์จะให้คุณแม่กลับบ้าน เพื่อติดตามอาการที่บ้าน และนัดมาตรวจอาการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการมาตามนัดเพื่อพบแพทย์แต่ละครั้ง ก็จะได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจคลื่นหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงตรวจเลือดและปัสสาวะของคุณแม่ เพื่อจะได้ดูแลอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แพทย์จะให้คำแนะนำให้คุณแม่กลับมาพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
2.การรักษาอาการครรภ์เป็นพิษในระดับที่รุนแรงปานกลาง
หากคุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษในระดับไม่รุนแรงมาก และมีอายุครรภ์ยังน้อยแพทย์ก็จะดูแลโดยการประคับประคองให้อายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์เพื่อจะได้ทำคลอดอย่างปลอดภัย สำหรับคุณแม่ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษ แต่ไม่รุนแรงมาก และมีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ไปแล้ว แพทย์อาจจะทำการคลอดลูกออกมาก่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
3.การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
สำหรับคุณแม่ที่ป่วยด้วยอาการครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรง จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด และได้รับการรักษาทันทีซึ่งแพทย์อาจจะให้ยาลดความดันโลหิต และยาชนิดอื่นๆ ตามความเสี่ยงของคุณแม่
อาการครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การเฝ้าระวังและสังเกตุอาการ ว่าใกล้เคียงกับที่กล่าวมาหรือไม่ หากพบว่าใช่ก็จะช่วยให้คุณแม่ทราบถึงอาการแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาได้ทันเวลา และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตนั่นเอง
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่