ช่วงนี้คุณแม่ก็ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว ซึ่งพัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน จะมีการพัฒนาเกือบสมบูรณ์ และพร้อมที่จะคลอดในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามคุณแม่บางคนอาจคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นจึงต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ โดยวันนี้เราก็จะพาไปดูกันว่าทารกในครรภ์ 8 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร พร้อมคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ดังนี้
พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน เป็นอย่างไร
ในช่วงครรภ์ 8 เดือน ทารกในครรภ์จะมีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 1,600กรัม ผมของทารกเกือบขึ้นเต็มศีรษะแล้ว ส่วนเล็บมือและเท้าก็งอกยาวเช่นกัน ลำตัวก็เริ่มเป็นสีชมพู แต่ผิวหนังยังคงเหี่ยวย่น ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้อย่างชัดเจน เพราะทารกในครรภ์จะเหยียดแขนเหยียดขา หรือเตะผนังหน้าท้องจนทำให้คุณแม่นอนไม่หลับกันเลยทีเดียว และเด็กบางคนก็อยู่ในท่าเตรียมตัวคลอดแล้วด้วย ซึ่งนี่ก็คือพัฒนาการทารก 8 เดือนที่พบเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง
อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ
ทารกในครรภ์ 8 เดือน ยังมีน้ำหนักตัวไม่มากพอที่จะออกมาภายนอกอย่างปลอดภัย คุณแม่จึงควรบำรุงครรภ์ด้วยอาหารคนท้องที่มีประโยชน์และช่วยเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือนได้ดี ซึ่งสารอาหารต่างๆ ที่คุณแม่ได้รับนั้น จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตน้ำนมในช่วงนี้ด้วย โดยสารอาหารที่คุณแม่ควรได้รับมีดังต่อไปนี้
1.โปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ รวมถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน ซึ่งถ้าพบว่าทารกมีน้ำน้อยกว่าเกณฑ์ คุณแม่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักของลูก ด้วยการกินอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ เต้าหู้ ถั่ว นม โยเกิร์ต เป็นต้น
2.วิตามินซี
วิตามินซีนั้นช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นหวัดง่ายๆ และที่สำคัญวิตามินซียังมีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายของคุณแม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ โดยผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีนั้น ได้แก่ ส้ม ฝรั่ง
3.วิตามินดี
ในช่วงนี้กระบวนการผลิตเริ่มน้ำนมเริ่มทำงาน ดังนั้นคุณแม่จึงควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เพื่อเป็นการเตรียมน้ำนมให้แก่ลูกน้อย อีกทั้งยังช่วยเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือนได้ด้วยโดยวิตามินดีพบได้ในอาหารดังต่อไปนี้ เช่น ปลาทู ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาไหล ปลาแมคคาเรล นม เนย ไขมัน ไข่แดง ผักใบเขียว แครอท และฟักทอง
4.แคลเซียม
การกินแคลเซียมอย่างเพียงพอ จะช่วยบำรุงกระดูกของคุณแม่ให้แข็งแรง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยปกป้องกะโหลกศีรษะของลูกให้มีความแข็งแรง ไม่ให้บิดเบี้ยวในระหว่างการคลอด ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรพลาด อาหารเหล่านี้ นม ข้าวกล้อง ปลาตัวเล็กต้วน้อย คินัว และอะโวคาโด เป็นต้น
5.ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เพื่อช่วยส่งอาหารไปยังทารกในครรภ์ ทำให้พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือนเป็นไปด้วยดีและยิ่งช่วยใกล้คลอด คุณแม่ยังต้องการเลือดมาเลี้ยงร่างกายในปริมาณที่มากขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรกินอาหารที่ธาตุเหล็กด้วย
คำแนะนำสำหรับคนท้อง 8 เดือน
เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ควรต้องเริ่มฝากงานให้ผู้อื่นช่วยดูแล เพื่อจะได้เตรียมพร้อมกับการดูแลลูกน้อยที่กำลังจะคลอดในไม่ช้า ดังนั้นมาดูกันสิว่า ในช่วงเดือนนี้คุณแม่ควรทำอะไรกันบ้าง
1.กินอาหารที่ย่อยง่าย
การบำรุงครรภ์ก็สำคัญ ดังนั้นจึงควรกินอาหารให้หลากหลาย โดยเน้นอาหารที่ย่อยง่ายเป็นหลัก แต่คุณแม่ต้องไม่เผลอกินมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ท้องอืด จุกเสียด จนกระทั่งเกิดอาการหายใจไม่สะดวกขึ้น เนื่องมาจากระบบการเผาผลาญที่ทำงานได้น้อยลง ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณแม่แบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แทนจะดีกว่า
2.ระวังอุบัติเหตุ
ในช่วงนี้ ท้องคุณแม่จะใหญ่ขึ้นมาก อาจทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปอย่างยากลำบาก รวมทั้งอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้นคุณแม่ควรระวังอุบัติเหตุที่อาจทำให้ร่างกายเกิดกระทบกระเทือน โดยเฉพาะกับบริเวณหน้าท้อง ซึ่งถ้าคุณแม่รู้สึกเวียนศีรษะขึ้นมาควรนั่งพัก หรือนอนพักให้อาการดีขึ้นเสียก่อน
3.ดูแลเต้านม
ในระหว่างนี้การกินอาหารบำรุงครรภ์จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกหลังคลอด แต่ในขณะเดียวกัน คุณแม่ก็ต้องดูแลต้านมด้วย เพราะเป็นส่วนที่สัมผัสกับลูกโดยตรง โดยในช่วงก่อนคลอดนั้น ร่างกายจะมีการขับไขมันออกมาคลุมบริเวณหัวนมและลานนม ดังนั้นเวลาที่คุณแม่อาบน้ำ จึงไม่ควรฟอกสบู่บริเวณนี้มากจนเกินไป เพราะจะไปชะล้างไขมันที่มีอยู่ ทำให้หัวนมแห้งและแตกได้
4.เตรียมของใช้ต่างๆ
คงถึงช่วงที่คุณแม่ต้องเริ่มจัดของลงกระเป๋าเพื่อเตรียมตัวไปคลอดแล้ว โดยคุณแม่สามารถสอบถามที่โรงพยาบาลได้ว่าต้องนำสิ่งของใดไปเพิ่มเติมบ้าง เพราะโรงพยาบาลบางแห่งนั้นจะจัดเตรียมของใช้ไว้ให้หมด ยกเว้นแต่เสื้อผ้าวันใส่กลับบ้านของแม่และลูก รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่ใช้แจ้งเกิด เช่น บัตรประชาชน ก็อย่าลืมนำติดตัวไปด้วย
5.พร้อมรับอาการฉุกเฉิน
ช่วงนี้คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าจะคลอดไว้ด้วย เช่น อาการท้องแข็ง ทุกๆ 5-10 นาที มีน้ำเดิน มูกเลือดออกทางช่องคลอด รวมทั้งอาการผิดปกติ เช่น ลูกดิ้นน้อยลง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม เหล่านี้เป็นต้น โดยถ้าพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที
พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน มีการพัฒนาเกือบเต็มที่ และพร้อมจะออกสู่โลกภายนอกในอีกไม่ช้านี้ ดังนั้นการทานอาหารที่มีประโยชน์จึงยังจำเป็น โดยคุณแม่อาจออกกำลังกายเบาๆ เพิ่ม เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่