อาการป่วยมักเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับเด็กเล็กจะทำให้มีอาการที่รุนแรงมากกว่าวัยอื่น ซึ่งในช่วงนี้มีโรคติดเชื้อที่มาจากเชื้อไวรัส RSV กำลังระบาด เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กันดีกว่าว่ามีความร้ายแรงต่อลูกน้อยอย่างไร มีวิธีการรักษาได้หรือไม่ ซึ่งคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลไว้เพื่อจะได้ป้องกันและรับมือถูกวิธีเมื่อลูกน้อยป่วยนั่นเอง
7 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับโรค Rsv
สำหรับเรื่องที่คุณแม่จะต้องรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค Rsv ก็มีดังนี้
1.RSV โรคนี้เกิดจากอะไร
การเกิดโรคไวรัส RSV ที่พบในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสRespiratory Syncytial Virus ซึ่งเด็กอาจจะได้รับเชื้อมาจากผู้ที่มีเชื้อไวรัส RSV อยู่ในร่างกาย โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาจจะเป็นละอองน้ำมูก น้ำลาย การไอ หรือจาม รวมถึงการสัมผัสกับเด็กด้วยการหอมแก้ม หรือจับมือเด็กแล้วเด็กนำมือไปเข้าปาก แคะจมูก หรือขยี้ตา ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
2.อาการที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคนี้
เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัส RSV เข้าสู่ร่างกายมีใช้ระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อประมาณ 5 วัน ซึ่งในช่วง 2-4 วันแรกเด็กอาจจะมีอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดธรรมดา คือมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูกไหล หลังจากนั้นจะมีอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างคือ
- มีไข้ พร้อมกับมีอาการไออย่างรุนแรง
- หายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบเพราะหลอดลมอักเสบ และมีกล่องเสียงอักเสบร่วมด้วย
- เกิดการอักเสบที่ปอด และอาจมีไข้สูงมากกว่า 39 องศา ในบางรายเมื่อหายใจมีเสียงครืดคราด เพราะมีเสมหะมาก
- เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้น เด็กมีอาการซึมลงไปอย่างเห็นได้ชัด กินอาหารหรือนมน้อยลง ปากและปลายนิ้วซีดเขียว ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นอาการรุนแรงเพราะขาดออกซิเจน จนอาจทำให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้
3.RSV เป็นโรคติดต่อไหม
การติดต่อของโรคสามารถแพร่การจายจากผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่นด้วยการฟุ้งกระจายของละออง น้ำมูก น้ำลาย จากการไอหรือจาม รวมถึงการสัมผัสหยิบจับสิ่งของที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย แล้วมีการนำมือมาป้ายบริเวณหู ตา จมูกและปาก ก็ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อโรคได้ เชื้อไวรัส RSV สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้นานหลายชั่วโมงซึ่งอาจจะแฝงตัวอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเด็กไปหยิบจับสัมผัสแล้วมาจับต้องตัวเองก็มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งสิ้น
4.อันตรายจากโรค RSV
เมื่อเด็กติดเชื้อไวรัส RSV แล้วควรได้รับการดูแลรักษาตามอาการ ในรายที่มีการติดเชื้อที่ปอดจะทำให้ปอดบวม หรือปอดอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะทำให้เกิดเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้
5.ลูกเป็น RSV ต้องรักษายังไง
เนื่องจากไวรัส RSV ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันและรักษา จำเป็นต้องรักษาตามอาการ คือ
- มีไข้ให้กินยาลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง รวมถึงการเช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด และให้นอนหลับพักผ่อนมากๆ จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- ควรให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ หากเป็นเด็กทารกก็ควรป้อนนมแม่บ่อยขึ้น
- หากกินยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น และการติดเชื้อดำเนินไปถึงวันที่ 4 แล้วจะทำให้มีอันตรายให้รีบนำเด็กไปโรงพยาบาลเพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาตามอาการ รวมถึงการให้น้ำเกลือและยาขยายหลอดลม ซึ่งหากมีเสมหะมากก็แพทย์อาจจะใช้วิธีพ่นยา รวมถึงการเคาะปอด และดูดเสมหะออกจากปอด
- หากติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ
- ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนจะได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้การหายใจสะดวกขึ้น
6.ดูแลลูกอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคนี้
การดูแลลูกให้ห่างไกลจากไวรัส RSVทำได้ดังนี้
- ก่อนอุ้มเด็กควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งจนสะอาดทุกครั้ง
- ในเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้คุณแม่ควรล้างมือให้เด็กบ่อยๆ ควรการทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ ของเล่นเด็กและแยกของใช้ส่วนตัวเด็กไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น รวมถึงการระมัดระวังไม่ให้เด็กนำมือมาเข้าปากด้วย
- ไม่นำเด็กไปในที่ชุมชนแออัด หรือที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อของเชื้อโรค เด็กที่อยู่ในวัยเข้าเรียนแล้วถ้าติดเชื้อ RSVจำเป็นต้องรักษาให้หายดีก่อนแล้วจึงไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังเด็กคนอื่น
- หากจำเป็นต้องนำเด็กออกนอกบ้านหรือไปในสถานที่มีความเสี่ยง ควรใส่หน้ากากอนามัยให้เด็ก และพกเจลล้างมือไปด้วยเสมอ
- หลีกเลี่ยงการจูบและหอมแก้มเด็ก การระมัดระวังไม่ให้ผู้ใหญ่จับแก้มเด็ก รวมถึงการจับตัวเด็กหากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อน
7.พบในเด็กวัยไหนมากที่สุด
เชื้อไวรัส RSV ส่วนใหญ่จะระบาดในกลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัย 3 ขวบ ส่วนวัยอื่นก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและป่วยได้เช่นกัน แต่ในวัยต่ำกว่า 3 ขวบเมื่อเป็นแล้วจะมีความรุนแรงมากกว่าที่พบในเด็กวัยอื่น
ไวรัส RSV มีเชื้อหลายกลุ่ม เมื่อเด็กเป็นครั้งแรกแล้ว มีโอกาสเป็นได้อีกเช่นเดียวกับเชื้อไข้หวัด แต่ความรุนแรงของเชื้อชนิดที่เด็กเคยได้รับ เมื่อเป็นซ้ำจะมีความรุนแรงน้อยกว่าการเป็นครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้การป้องกันไม่ให้ลูกได้รับเชื้อจะเป็นวิธีที่ดีทีสุด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.10 อาหารวิตามินอี คนท้องควรกิน เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี
2.อาหารที่คนท้องควรกิน และไม่ควรกิน สำหรับคนท้องกรุ๊ปเลือด B