เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายก่อนการคลอด คุณแม่ควรต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันก็ต้องใส่ใจเรื่องอาหารบำรุงครรภ์ เพราะช่วงนี้พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เพื่อให้ทารกมีความพร้อมที่จะคลอดมากที่สุด โดยมีพัฒนาการอย่างไรบ้างเรามาดูกันเลยค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน เป็นอย่างไร
ทารกในครรภ์ในขณะนี้เติบโตขึ้นมาก โดยมีลำตัวยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน ที่ควรส่งเสริมในช่วงนี้คือ การรับรู้รสชาติอาหารของทารก ซึ่งการกินอาหารที่หลากหลายของคุณแม่ จะส่งผลที่ดีต่อพัฒนาการของทารก นอกจากนี้พัฒนาการทารก 7 เดือนยังไวต่อสิ่งกระตุ้น และมีปฏิกิริยาต่างๆ เช่น ดูดนิ้ว หรือ จาม ซึ่งคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกอยู่เสมอ โดยถ้าคุณแม่พบว่าทารกดิ้นน้อยลง ควรไปพบแพทย์ในทันที และเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายเดือน 7 อาจพบว่าทารกเริ่มหมุนตัว โดยเอาหัวลง เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอดที่จะถึงในไม่ช้านี้นั่นเอง
อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ
คุณแม่ควรเลือกกินอาหารที่ได้คุณภาพและมีประโยชน์ เพื่อครรภ์ที่สมบูรณ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือนที่เป็นไปได้ดี โดยอาหารคนท้องที่แนะนำมีดังต่อไปนี้
1.โปรตีน
โปรตีนนั้นสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ นอกจากเนื้อสัตว์ต่างๆ ก็ยังมีไข่ที่ให้โปรตีนสูง จึงแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บริโภคไข่วันละฟอง โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด เพื่อป้องกันภาวะซีดที่พบได้บ่อยในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั่นเอง
2.คาร์โบไฮเดรต
ในไตรมาสที่ 3 คุณแม่ต้องระวังความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อน ดังนั้นการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์อย่าง เช่น ถั่ว มัน โฮลวีท โฮลเกรน ผักใบเขียว พาสต้าโฮลวีท และซีเรียล ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ได้ โดยแนะนำให้เลือกกินแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เพราะดีต่อสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการทารก 7 เดือนมากกว่า นอกจากนี้การได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ จะช่วยให้คุณแม่มีพลังงานเพียงพอในช่วงใกล้คลอดอีกด้วย
3.วิตามินเอ
สารอาหารที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในช่วงครรภ์ 7 เดือนที่คุณแม่ไม่ควรพลาด ก็คือวิตามินเอ เพราะมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของทารกในครรภ์ ทำให้ พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน มีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งวิตามินเอนั้น พบได้ในอาหารเหล่านี้ ตำลึง ผักกาดขาว แตงกว่า ฟักทอง มะละกอ มะเขือเทศ เป็นต้น
4.โอเมก้า 3
ช่วงนี้ทารกในครรภ์ลืมตาได้มากขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน ด้านการมองเห็นและประสาทตาของทารกในครรภ์ ด้วยการเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอโมก้า 3 โดยพบมากในอาหารเหล่านี้ เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ปลาแซลมอน ปลาทู เมล็ดฟักทอง
5.ธาตุเหล็ก
ร่างกายต้องใช้เลือดเป็นจำนวนมาก ในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโต ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารอาหารอีกหนึ่งตัวที่สำคัญ เพราะธาตุเหล็กช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นอย่างดี คุณแม่จึงควรเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น สัตว์เนื้อแดง ธัญพืชต่างๆ และเมล็ดถั่ว ก็จะช่วยป้องกันภาวะซีดในช่วงใกล้คลอดได้ แต่ในขณะเดียวกัน การบริโภคธาตุเหล็กมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารให้หลากหลาย และให้ครบหมวดหมู่จะดีกว่า
คำแนะนำสำหรับคนท้อง 7 เดือน
เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นนอกจากการให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินแล้ว การเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นเราจึงมีคำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือนมาฝากกันดังต่อไปนี้
1.เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ในระหว่างงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรู้จักการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ด้วย โดยทารกวัย 7 เดือน มักจะขยับตัวประมาณ 10 ครั้งใน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ให้ลองนั่งพักสักครู่ แล้วดื่มน้ำเย็น อาจนวดให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น ก็จะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้ง
2.สังเกตอาการผิดปกติ
ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษที่มักมีอาการแสดงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สายตาพร่ามัว แขนขาบวม เป็นต้น ซึ่งถ้าคุณแม่มีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยด่วน
3.รู้จักอาการเจ็บท้องเตือน
อาการเจ็บท้องเตือนนั้น เกิดจากมดลูกมีการบีบรัดตัว ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงเข้าสู่ไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ โดยอาการเจ็บท้องเตือนจะแตกต่างกับการเจ็บท้องจริง ซึ่งทำให้เกิดการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ไว้ด้วย
4.เข้าร่วมชมรมหรือหลักสูตรเกี่ยวกับว่าที่คุณแม่
คุณแม่อาจมีความวิตกถึงอาการต่างๆ ตลอดการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด ดังนั้นการเข้าร่วมหลักสูตร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นคุณแม่ รวมทั้งการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆกับว่าที่คุณแม่ด้วยกัน จะช่วยลดความกังวลใจเหล่านี้ลงได้
5.วางแผนการคลอด
การคลอดมีหลายวิธี ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาว่า วิธีการคลอดแบบไหนเหมาะสมกับคุณแม่มากกว่ากัน ทั้งข้อดีข้อเสียของการคลอดแบบต่างๆ รวมทั้งการดูแลตนเองหลังคลอด โดยคุณแม่อาจขอคำปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่ด้วย เพื่อจะได้เลือกวิธีการคลอดที่ดีที่สุด
เมื่อเข้าสู่ช่วงท้อง 7 เดือน การกินอาหารที่เป็นประโยชน์ มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคลอดกำหนด รวมทั้งอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอด จึงจำเป็นที่คุณแม่ต้องดูแลร่างกายเป็นพิเศษ นอกจากนี้ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและพัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือนที่ดีนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่