ลูกท้องผูกเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม ท้องผูกถึงแม้ไม่ได้อันตรายอะไรแต่ก็อาจส่งผลทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ ทั้งยังทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่ยอมทานอาหาร อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายทำให้ลูกตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้อีกด้วย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตให้ดี โดยเฉพาะหากพบว่าลูกมี 7 อาการดังต่อไปนี้ ให้รู้ไว้เลยว่าลูกมีอาการ อึไม่ออก ท้องผูกอย่างแน่นอน
7 อาการอึไม่ออก แบบไหนท้องผูกแน่นอน
ลูกท้องผูก อึไม่ออก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะปัญหาดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกกลายเป็นความรุนแรงของโรคอื่นตามมาได้ อย่างเช่น โรคลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวารหนัก เลือดออกขณะขับถ่าย เป็นต้น หากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นคือสัญญาณเตือนว่าลูกกำลังประสบปัญหา อาการท้องผูก ถ่ายไม่ออกนั่นเอง
1. มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือน้อยกว่านี้
2. มีอาการท้องอืดและผายลมอยู่บ่อยๆ
3. เวลาถ่ายอุจจาระจะก้อนใหญ่ แข็ง แห้ง จึงทำให้มีการขับถ่ายยากจนต้องเบ่ง หรือมีเลือดติดออกมากับอุจจาระ
4. ลูกร้องไห้ หรืองอแงทุกครั้งที่จะมีการถ่ายอุจจาระ
5. มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ยอมทานอาหารเหมือนปติ
6. คลื่นไส้ คล้ายกับจะอาเจียน บ่อยครั้ง
7. มีอุจจาระปนเปื้อนแห้งกรังติดอยู่ในกางเกงใน
หากพบว่ามีอาการมากกว่า 3 ใน 7 ข้อนี้นั่นแสดงว่าลูกกำลังมี อาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้กับลูกให้มากขึ้นเพื่อป้องกันท้องผูกในเด็ก
ทำอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก
หากพบว่าลูกมีอาการ อึไม่ออก ท้องผูก คุณพ่อคุณแม่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ควรมองข้าม ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินและการขับถ่ายให้กับลูกด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ให้ลูกดื่มนมในปริมาณที่น้อยลงจากเดิม เนื่องจากว่าในนมจะมีแคลเซียมสูงมักจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง หากดื่มนมมากเกินไปจะส่งผลทำให้ลูกท้องผูกได้
2. ให้ลูกทานอาหารตามวัย โดยในอัตราส่วน ข้าวมากกว่าเนื้อสัตว์และผักในปริมาณเท่ากับ 2:1:1
3. ให้ลูกทานข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังโฮลวีต เพราะมีกากใยอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสี จะช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้น
4. ให้ลูกทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารมากขึ้น อย่างเช่น มะละกอ ส้ม แอปเปิ้ล ชมพู่ และดื่มน้ำให้มากขึ้น ไม่ควรให้ลูกทานขนมกรุบกรอบหรือของทอดจากน้ำมันมากเกินไป
5. ฝึกให้ลูกขับถ่ายเป็นเวลา คือตอนเช้าหลังจากตื่นนอนควรพาลูกไปนั่งขับถ่ายเพื่อฝึกการขับถ่ายเป็นเวลา
6. ส่งเสริมการออกกำลังกายของลูกมากขึ้น เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ช่วยกระตุ้นลำไส้เคลื่อนที่บีบตัวขับอุจจาระได้ดีขึ้น ช่วยให้ อาการท้องผูก ดีขึ้น
7. หากพบว่าลูก อึไม่ออก ควรตรวจดูบริเวณที่ก้นของลูกว่ามีแผลหรือไม่ หากพบว่ามีแผลควรให้ลูกแช่น้ำอุ่นนาน 20 นาทีเพื่อทำการสมานแผล
ลูกท้องผูกบ่อย ท้องผูกเรื้อรัง อันตรายแค่ไหน
สำหรับเด็กที่มีท้องผูกเรื้อรังเป็นเวลานานๆ ปล่อยไว้ไม่มีการรักษาใดๆ อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทางร่ายกายและจิตใจของเด็กได้ เพราะเด็กที่มีอาการ อึไม่ออก ท้องผูกมานานจะทำให้มีอาการปวดท้อง บางรายปวดท้องมากจนต้องเดินงอตัวเหมือนเป็นโรคปวดไส้ติ่งอักเสบและนี่คือสิ่งที่จะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจเด็กคือ
- ส่งผลเสียต่อร่างกายคือ เมื่อเด็กท้องผูกมานานจะทำให้เด็กรับประทานอาหารได้น้อยลง ส่งผลถึงพัฒนาการเจริญเติบโตของลูก ทำให้ลูกตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้
- ส่งผลเสียต่อจิตใจคือ เด็กบางรายที่มีอาการ อึไม่ออก มานานส่งผลทำให้มีอุจจาระเล็ดมาภายนอกทำให้เปื้อนกางเกงและมีกลิ่นเหม็น ส่งผลทำให้เด็กอาจจะกลายเป็นที่รังเกียจของเพื่อน และสร้างความอับอายหรือปมด้อยให้กับเด็ก หรือเด็กบางรายอาจจะกลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิดอารมณ์เสียได้เช่นกัน
มาป้องกันไม่ให้ลูกท้องผูกกันเถอะ
ท้องผูกในเด็กสามารถป้องกันได้ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกมีอาการ อึไม่ออก ท้องผูกจะต้องป้องกันตั้งแต่ลูกยังเด็กโดยการปรับพฤติกรรมการกินของลูกและส่งเสริมให้ลูกทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีส่วนช่วยให้เด็กมีระบบขับถ่ายที่ดี ย่อยง่าย และไม่ทำให้ท้องอืด ทานนมแม่จะช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้น และควรให้ลูกได้ทานอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย อย่างเช่น เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือนไปแล้วคุณแม่สามารถให้อาหารเสริมกับลูกได้ โดยให้วันละ 1 – 2 มื้อ และเพิ่มเป็น 3 มื้อเมื่ออายุ 9 เดือนไปแล้ว เพื่อให้ลูกได้รับผักและผลไม้ที่เพียงพอจะช่วยให้ระบบขับถ่ายดี สามารถป้องกันท้องผูกในเด็กได้
ปัญหาท้องผูกในเด็กเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้ เพราะฉะนั้นหากพบว่าลูกมีอาการ อึไม่ออก ท้องผูกเป็นประจำคุณพ่อคุณแม่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการขับถ่ายให้ลูก ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้น สอนให้ขับถ่ายเป็นเวลา จะช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้นและหายจากโรคท้องผูกได้ในที่สุด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่