นอกจากร่างกายของคุณแม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือนก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นมาดูกันสิว่า ทารกในครรภ์ช่วง 6 เดือนนี้มีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อคุณแม่จะได้ดูแลครรภ์อย่างถูกต้อง ทั้งอาหารที่ช่วยบำรุงครรภ์ และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมนั่นเอง
พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน เป็นอย่างไร
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 6 เดือน มีขนาดความยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร หนัก 700-800กรัม เด็กเริ่มลืมตาได้ ผมและเล็บเท้าเริ่มงอก หน้าตาของทารกดูชัดเจนขึ้น ระบบประสาทก็เริ่มทำงาน แต่ปอดนั้นยังทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ทารกเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของแม่ และคลื่นเสียงความถี่สูงต่างๆ อีกทั้งยังมีปฏิกิริยากับการได้ยินเสียงของพ่อแม่ด้วย ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารกบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้ทารกจดจำเสียงได้ดีขึ้น
อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ
ช่วงนี้คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น ทำให้ทานอาหารเยอะ น้ำหนักจึงเพิ่มตามไปด้วย ส่วนทารกเองก็ต้องการสารอาหารมากขึ้นด้วย เพื่อนำไปพัฒนาระบบต่างๆ ภายในร่างกาย รวมถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ดังนั้นคุณแม่จำเป็นต้องเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งอาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำในช่วงนี้อายุครรภ์ 6 เดือน มีดังต่อไปนี้
1.ไขมัน
เพื่อเสริมสร้างพละกำลังในช่วงตั้งครรภ์ และกระตุ้นพัฒนาการเด็กในครรภ์ การได้รับไขมันอย่างเพียงพอจะช่วยให้คุณแม่มีเรี่ยวแรงมากขึ้น นอกจากนี้ไขมันยังมีส่วนช่วยให้ระบบดูดซึมอาหารและระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ทำให้ทารกขับถ่ายของเสียออกมาทางลำไส้ใหญ่ได้อย่างปกติ ส่วนคุณแม่ที่มักท้องผูก การกินไขมันที่เพียงพอจะช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันนั้น ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา ธัญพืช เห็ด ถั่วและงา เป็นต้น
2.ไฟเบอร์
เมื่อคุณแม่ท้องโตขึ้น มดลูกจะไปเบียดบังกระเพาะอาหารและลำไส้มากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้นคุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ซึ่งไฟเบอร์นั้นสามารถพบได้ในอาหารเหล่านี้ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต อะโวคาโด บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น นอกจากนี้การกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์นั้น ยังช่วยป้องกันไม่ให้คุณแม่มีน้ำหนักส่วนเกิน รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอีกด้วย
3.โปรตีน
โปรตีนช่วยเสริมสร้างเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายและเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ สำหรับโปรตีนนั้น หาได้ง่ายในเนื้อสัตว์ แต่คุณแม่ควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนัง และไม่มีมัน เช่น เนื้อส่วนหน้าอก เนื้อปลา ไข่ ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น
4.ธาตุเหล็ก
เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางที่มักพบได้บ่อยๆ ในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้มากในเนื้อสัตว์สีแดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล โดยคุณแม่ควรกินควบคู่กับอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น บร็อคโคลี มะเขือเทศ ส้ม ฝรั่ง เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
5.วิตามินบี 2
วิตามินบี 2 นั้นมีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ระบบประสาทของทารกในครรภ์กำลังเริ่มทำงาน ซึ่งวิตามินบี 2 จะช่วยเสริมสร้างระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน รวมทั้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่สำคัญ โดยคุณแม่สามารถเลือกกินอาหารที่มีวิตามินบี 2ได้จากอาหารเหล่านี้ เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ เนื้อวัว ไข่ ปลาซาร์ดีน ปลากะพง ปู กุ้ง นม ไข่ และชีส เป็นต้น
6.น้ำเปล่า
ในร่างกายนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 70-80% โดยคนทั่วไปควรกินน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำมากกว่า 8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ซึ่งน้ำนั้น มีส่วนช่วยให้คุณแม่มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง สดใสอีกด้วย โดยคุณแม่ควรเลือกกินน้ำเปล่า เพราะดีที่สุดต่อร่างกาย และดีต่อพัฒนาการเด็กในครรภ์ด้วย
คำแนะนำสำหรับคนท้อง 6 เดือน
ในช่วงสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพร่างกายมากยิ่งขึ้น ทั้งอาหารการกิน รวมทั้งต้องสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีคำแนะนำสำหรับคนท้อง 6 เดือน ดังต่อไปนี้
1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
คุณแม่ไม่ควรกินอาหารสุกๆ ดิบๆ เพราะเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกอาจมีเชื้อแบคทีเรีย ที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ เช่น ปลาดิบที่อาจมีสารพิษและพยาธิ รวมทั้งอาหารที่มีรสชาติเผ็ดที่ส่งผลต่อระบบการย่อย ทำให้ย่อยยาก และคุณแม่อาจปวดท้องได้
2.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ในช่วงที่ระบบประสาทต่างๆ ของทารกในครรภ์กำลังพัฒนา คุณแม่ต้องระวังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลทำลายเซลล์ประสาท ทำให้ระดับสติปัญญาของทารกบกพร่อง รวมทั้งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและทำให้ทารกเป็นสมาธิสั้นได้ ซึ่งไม่ดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน นอกจากนี้ก็ควรงดสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ เพราะสารนิโคตินมีผลต่อระบบประสาททำให้พัฒนาการต่างๆ ของทารกผิดปกติได้เช่นกัน
3.รับมือกับอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ในช่วงที่ร่างกายต้องรับน้ำหนักมากขึ้น คุณแม่ต้องเผชิญกับอาการต่างๆ เช่น เป็นตะคริว ปวดหลัง ปวดชายโครง และเสียดท้องได้ ดังนั้น คุณแม่ต้องระวังการเคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งการลุกนั่งควรทำอย่างช้าๆ และหมั่นออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินช้าๆ ว่ายน้ำ และกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ด้วย
4.ระวังโรคแทรกซ้อน
ในช่วงเดือนนี้คุณแม่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด ริดสีดวงทวาร ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว ควรดูแลสุขภาพ อาหารการกิน และหมั่นไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
เพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือนที่ดี คุณแม่ต้องเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์นี่เอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่