เมื่อตั้งครรภ์มาถึงเดือนที่ 5 ร่างกายของคุณแม่ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดท้องที่โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรืออาการแปลกๆ ที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างเช่น ปวดหลัง นอนไม่หลับ ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงของตัวคุณแม่แล้ว พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน จะเป็นอย่างไรบ้างนะ วันนี้เราจะมาบอกให้คุณแม่ได้รู้กันค่ะ พร้อมคำแนะนำดีๆ ที่ไม่ควรพลาด
พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน เป็นอย่างไร
ทารกในครรภ์ช่วง 5 เดือน จะมีพัฒนาการเป็นแบบไหนบ้าง อยากรู้ต้องมาดูกันเลยค่ะ
1. ขนาดของทารกเท่าผลมะละกอ โดยมีความยาวจากศีรษะ ถึงปลายเท้า ประมาณ 25 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัว 300 กรัม
2. ผมเริ่มงอก โดยมีเส้นผมอ่อนๆ เกิดขึ้นทั่วหนังศีรษะ ดวงตายังปิดอยู่ แต่ถึงแม้ว่าจะปิดเปลือกตาแต่ก็ยังมีความไวต่อแสง หากคุณแม่เล่นกับลูกโดยการส่องไฟลูกก็จะมองเห็นได้
3. เริ่มดิ้นได้แล้ว รวมถึงการยืดตัวและหมุนตัวไปมาในท้องจนคุณแม่รู้สึกได้เองว่าลูกมีอาการดิ้นแล้ว นอกจากนี้คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกถีบขาเป็นระยะ โดยเฉพาะขณะที่นอนหลับ จะรู้สึกได้ชัดมากขึ้น
4. พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน สามารถแยกรสหวานและรสขมได้แล้ว เนื่องจากร่างกายได้พัฒนาปุ่มรับรสมาตั้งแต่เดือนที่ 4 เมื่อทารกได้ 5 เดือนจึงสามารถแยกรสชาติต่างๆ ได้นั่นเอง
อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ
คุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงเดือนที่ 5 ควรกินอาหารแบบไหนถึงจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงดี และเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือนได้ ขอแนะนำนี่เลย
1.ผลไม้
ผลไม้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงเดือนที่ 5 เพราะจะช่วยให้มีสุขภาพดี ช่วยบำรุงผิวของคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากนี้ผลไม้ยังทำให้ได้รับเกลือแร่และวิตามินต่างๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการทารก 5 เดือน อย่างครบถ้วน ซึ่งมีส่วนในการนำพาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ได้ดี สำหรับผลไม้ที่คุณแม่ตั้งครรภ์วัย 5 เดือนควรกินเป็นประจำทุกวันมีดังนี้ แอปเปิ้ลส้ม กล้วย สตอเบอรี่ ลูกแพร และกีวี่ ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และรักษาระดับเกลือแร่ให้สมดุล พร้อมกับป้องกันการเจ็บป่วยได้ด้วย
2.คาร์โบไฮเดรต
อาหารประเภทคาโบไฮเดรตที่คุณแม่ควรกินคือ ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ ฟักทอง ข้าวโพด รวมถึงขนมปังโฮลวีท ซึ่งอาหารเหล่านี้เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 เดือน เนื่องจากมีเส้นใยสูง จำเป็นต่อระบบขับถ่ายของคุณแม่ ซึ่งลำไส้เริ่มถูกเบียดจากการขยายตัวของมดลูก จึงช่วยลดปัญหาท้องผูกได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยในการเติบโตและพัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือนเช่นกัน
3.โปรตีน
อาหารประเภทโปรตีนยังมีความจำเป็นต่อการตั้งครรภ์ทุกไตรมาส อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโปรตีนมีส่วนในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซึ่งในคุณแม่ตั้งครรภ์ โปรตีนจะถูกนำไปสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ของทารกให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงครบถ้วน โดยแหล่งโปรตีนที่คุณแม่ควรกินคือ เนื้อหมูไม่ติดมัน เนื้อไก่ไม่ติดหนัง เนื้อปลา สำหรับผู้ที่กินเนื้อสัตว์ได้น้อยสามารถสลับกับเต้าหู้ ไข่ไก่ และไข่เป็ดได้เลย
4.อาหารที่มีวิตามินบี 1
คนท้องอาจมีอาการเหน็บชาเกิดขึ้นได้ เนื่องจากทารกได้ดึงสารอาหารและวิตามินไปสร้างร่างกาย จึงทำให้คนท้องบางคนมีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวได้ง่าย จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีวิตามินบี 1อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังช่วยเสริมพัฒนาการทารก 5 เดือนด้วย ซึ่งอาหารที่มีวิตามินบี1 ประกอบด้วยธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง งาดำ งาขาว ข้าวกล้องทั้งแบบแห้งและข้าวกล้องเพาะงอก ซึ่งมีสารกาบา ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองเพิ่มขึ้นด้วย
5.อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี
ธาตุสังกะสีมีความจำเป็นต่อคนท้อง เพราะช่วงนี้ทารกเริ่มมีการสร้างเส้นผม และหนังศีรษะ เล็บมือเล็บเท้าเริ่มงอกออกมาแล้ว คุณแม่ที่กินอาหารที่มีธาตุสังกะสีผสมอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายทารกสามารถดึงมาใช้ได้อย่างพอเพียง อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาคุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย โดยอาหารที่มีสังกะสีสูง ได้แก่ เมล็ดฟักทอง ถั่วแดง ถั่วลูกไก่ เห็ด คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง หอยนางรม กุ้ง ปลาซาดีน และปลาแซลมอน
คำแนะนำสำหรับคนท้อง 5 เดือน
เมื่ออายุครรภ์ได้ย่างเข้ามาถึงเดือนที่ 5 แล้ว การรอคอยที่จะได้พบกับลูกน้อยเหลืออีกไม่นาน คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด โดยมีคำแนะนำที่เราอยากบอกคุณแม่ เพื่อสุขภาพครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือนที่ดีดังนี้
1.ไปพบคุณหมอตามนัด
หลังฝากครรภ์มาได้ระยะหนึ่งแล้วคุณหมอจะนัดเพื่อตรวจครรภ์เป็นประจำทุกเดือน คุณแม่ที่ท้อง 5 เดือนจะต้องไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมถึงการทำอัลตร้าซาวน์เพื่อตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ว่ามีความสมบูรณ์เพียงใด
2.ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
เพราะน้ำจะช่วยให้สารอาหารถูกส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ และป้องกันริดสีดวงทวารได้ ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอด้วย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วนั่นเอง
3.ควรนอนท่าตะแคง
ช่วงนี้ท้องคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น การนอนหงายอาจทำให้เกิดการกดทับเส้นเลือดใหญ่บริเวณหลังจนทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้น้อยลง การนอนตะแคงจึงช่วยลดการกดทับเส้นเลือดใหญ่ได้ดี และช่วยลดความเสี่ยงของการที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้อีกด้วย
4.สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
เสื้อผ้าที่คุณแม่สวมใส่ควรเป็นผ้าฝ้าย จะช่วยระบายความร้อนได้ดี คุณแม่ที่ใส่เสื้อผ้าชนิดอื่นเมื่ออากาศร้อนอาจทำให้อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย และอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ด้วย
5.ทาครีมที่หน้าท้อง
เมื่อท้องใหญ่ขึ้น ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการขยายตัว ควรทาครีมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวและช่วยลดการเกิดปัญหาท้องลาย รวมถึงลดอาการคันผิวหนังได้ดี
6.ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
คุณแม่ขณะตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนอาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดในร่างกาย จึงทำให้เกิดมีปัญหาเหงือกบวมหรือมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปาก และการก่อตัวของคราบพลัคสะสมที่ฟันจนทำให้ฟันผุได้ ดังนั้นจึงควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากนั่นเอง
พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน มีอวัยวะหลายอย่างได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง การดูแลให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นกับตัวคุณแม่ที่ใส่ใจในอาหาร และการดูแลตนเองด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากทำได้ตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ทั้งทารกและตัวคุณแม่จะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงแน่นอนค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่