ลูกน้อยถือเป็นแก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่รวมถึงทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะลูกน้อยในวัย 4 ขวบซึ่งถือเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ลูกน้อยในวัย 4 ขวบนี้จะเริ่มแยกแยะ และจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ได้ ทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยเลี้ยงดูเอาใจใส่รวมถึงปกป้องลูกน้อยเพื่อป้องกันอันตรายหรือโรคภัยที่สามารถเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ ในส่วนนี้ก็มีหลากหลายวิธีป้องกันโรคภัยที่จะเกิดในลูกน้อยได้ หนึ่งในนั้นก็คือการฉีดวัคซีนพื้นฐานให้ครบนั่นเอง ซึ่งวันนี้เราก็จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปดูกันว่าวัคซีน 4 ขวบมีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องฉีด และมีวิธีการดูแลลูกน้อยหลังฉีดวัคซีนอย่างไร
วัคซีน 4 ขวบ มีอะไรบ้างที่ต้องฉีด
เมื่ออายุของลูกน้อยย่างเข้าวัย 4 ขวบแล้วก็มีวัคซีน 4 ขวบหลัก ๆ ที่ลูกน้อยควรฉีดทั้งหมด 3 วัคซีนด้วยกัน อันประกอบด้วย
- วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรนชนิดทั้งเซลล์ เป็นวัคซีนที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเมื่อลูกน้อยอายุครบ 4 ขวบ จะเป็นเข็มที่ 5 พอดี หลังจากนี้ก็ฉีดอีกรอบเมื่ออายุครบ 12 – 16 ปี และหลังจากนี้ก็ฉีด 10 ปีครั้ง โดยวัคซีน 4 ขวบนี้ก็มีอาการข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในลูกน้อยของคุณได้ไม่ว่าจะเป็นไข้สูง มีการร้องเพราะความไม่สบายตัว โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนไปเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอด โดยเมื่ออายุครบ 4 ขวบจะจัดเป็นการรับวัคซีน 4 ขวบชนิดนี้ครั้งที่ 5 วัคซีน 4 ขวบชนิดนี้จะแตกต่างจากวัคซีน 4 ขวบชนิดอื่น ๆ ตรงที่เป็นการรับวัคซีนโดยการหยอดหรือรับประทานไม่ใช่การรับวัคซีนด้วยการฉีด ลูกน้อยจะไม่ต้องเจ็บตัวเพียงแต่ต้องทำให้ลูกน้อยอ้าปากและกลืนวัคซีนชนิดนี้ให้ได้
- วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมันเป็นอีกวัคซีน 4 ขวบที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับลูกน้อย เพราะโรคดังกล่าวนี้สามารถติดต่อจากสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกายทั้งละอองฝอย หรือ การสัมผัส โดยหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวลูกน้อยของคุณอาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด รวมถึงมีไข้อ่อน ๆ
คำแนะนำก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีน
- เมื่อถึงวันนัดฉีดวัคซีนสำหรับเด็กลูกน้อยควรมีร่างกายที่พร้อมต่อการฉีด ไม่ควรเจ็บป่วยหรือไม่สบายก่อนหรือในวันที่จะฉีดวัคซีน ทั้งนี้หากลูกน้อยของคุณป่วยควรให้หายจากอาการป่วยก่อนเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วค่อยพาเข้ารับการฉีดวัคซีน
- เมื่อถึงวันนัดฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถไปได้ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปรับวัคซีนกระตุ้นไม่ว่าระยะเวลาจะเว้นไปนานแค่ไหน เพราะการรับวัคซีนกระตุ้นจะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง ในส่วนนี้ไม่ต้องเริ่มต้นนับใหม่ แต่ให้นับเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อไป
- ทุกครั้งที่พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนต้องแจ้งแก่แพทย์และพยาบาลเสมอหากลูกน้อยของคุณมีประวัติการแพ้ไม่ว่าจะแพ้อาหาร เช่น ไข่ นมวัว หรือ แพ้ยา และต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลหากลูกน้อยของคุณเคยมีผลข้างเคียงที่รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีนก่อนหน้านี้ เช่น อาการชัก ไข้สูงเป็นระยะเวลาหลายวัน หรือ เป็นลมพิษ เป็นต้น
การดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน
เมื่อลูกน้อยได้รับวัคซีนแล้วสามารถเกิดอาการข้างเคียงได้ ในเบื้องต้นหลังการฉีดคุณพ่อคุณแม่ควรพักเป็นเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย รวมถึงระยะเวลา 30 นาทีนี้เป็นระยะพักที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาล หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในลูกน้อยจะได้รับการดูแลที่ทันท่วงที อย่างไรก็ดีเมื่อผ่านพ้นระยะเวลา 30 นาทีนี้ไปแล้ว ลูกน้อยก็อาจเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งมีวิธีการดูแลในแต่ละผลข้างเคียงดังนี้
- อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด ส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถประคบเย็นให้แก่ลูกน้อยเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ในส่วนของการประคบก็สามารถใช้ได้ทั้งผ้าประคบเย็นและเจลเย็น
- อาการไข้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน ในส่วนนี้คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยรับประทานยาลดไข้ได้ ซึ่งแพทย์มักจะจ่ายยามาให้เมื่อไปรับวัคซีนมาอยู่แล้ว แต่หากอาการไข้ดังกล่าวมีเกินกว่า 2 วัน ก็ควรพาลูกน้อยมาพบแพทย์อีกครั้งหนึ่ง
- อาการร้องไห้งอแง ส่วนนี้ก็เกิดจากความไม่สบายเนื้อสบายตัวของลูกน้อยหลังการรับวัคซีน คุณพ่อคุณแม่สามารถลดอาการดังกล่าวของลูกน้อยได้ด้วยการโอบกอด กล่อมนอน และการชวนทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อยจากความไม่สบายเนื้อสบายตัวที่เป็นอยู่
คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่าการดูแลลูกน้อยที่เปรียบดั่งแก้วตาดวงใจนั่นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เพื่อให้ลูกน้อยสามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและพร้อมในทุก ๆ ด้าน การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กก็นับเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นในลูกน้อยได้ โดยเฉพาะลูกน้อยในวัย 4 ขวบ ซึ่งบทความข้างต้นก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปใช้เป็นเช็คลิสต์สำหรับปรับประยุกต์การดูแลลูกน้อยได้
= = = = = = = = = = = =