เมื่อ ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่คงอยากจะรู้ใช่ไหม ว่าตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง มีน้ำหนัก และขนาดตัวเท่าไหร่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกัน พร้อมแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่คุณแม่ควรทำและควรดูแลตนเองในช่วงนี้ด้วย โดยสามารถดูได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ได้เลย
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ ลูกน้อยตัวแค่ไหน
อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ลูกน้อยในครรภ์ของคุณสามารถได้ยินเสียงและฟังเสียงรอบตัวได้แล้ว เขาอาจจะชื่นชอบเพลงกล่อมเด็กที่คุณเปิดหรืออาจจะจดจำเพลงที่คุณร้องให้ฟังได้ทุกคืน เมื่อคลอดออกมาก็มีแนวโน้มว่าจะจดทำโทนเสียงที่คุ้นเคยได้ดี โดยทารกในครรภ์มีขนาดประมาณ 45 ซม. มีน้ำหนักประมาณ 2,000 กรัม ในช่วงนี้น้ำคร่ำจะเพิ่มมากขึ้น ท้องของคุณแม่ก็จะขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ เมื่อตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์
มาดูกันว่าในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ควรทำอะไรบ้าง
1.นอนตะแคงข้าง
ในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงข้าง ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมที่สุด การนอนหงายจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ได้ ถ้าหากคุณแม่มีปัญหาเรื่องการนอน ลองเปลี่ยนเป็นท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน และควรเพิ่มเวลางีบหลับตอนกลางวันเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ควรรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ โดยคุณแม่สามารถเพิ่มปริมาณอาหารได้อีก 200 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อคุณแม่และทารกในครรภ์แล้ว สำหรับเมนูอาหารแนะนำอาจจะเป็น โจ๊กหรือข้าวต้ม ผลไม้ โยเกิร์ต ปลานึ่ง ปลาย่าง รวมถึงอาหารประเภทอื่นๆ ที่ย่อยง่ายและรสไม่จัด
3.ว่ายน้ำ
เป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัยต่อข้อต่อและร่างกายของคุณแม่อย่างมาก เพราะน้ำช่วยรองรับน้ำหนักได้ดี แต่ควรอยู่ในความดูแลของผู้สอน หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำที่ต้องเคลื่อนไหวมากๆ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกเชิงกราน
เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ของครอบครัว ถ้าหากคุณยังไม่ได้ชื่อลูกที่ถูกใจ ช่วงเวลานี้ถือเป็นเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรเตรียมวางแผนอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวด้วย
อาการต่างๆ ที่มักจะพบในช่วงนี้
มาดูกันว่ามีอาการอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์บ้าง เพื่อที่คุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือได้ทันนั่นเอง
1.ตาพร่ามัว
เป็นเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำคร่ำที่เพิ่มมากขึ้น และการนอนหลับไม่เพียงพอในเวลากลางคืน อาจทำให้ตาพร่ามัวได้ ซึ่งอาจจะเป็นๆ หายๆ แต่ถ้ามีอาการตามัว ร่วมกับมีอาการตัวบวม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณของครรภ์เป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
2.เหนื่อยล้า
ความเหนื่อยล้าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจากการแบกรับน้ำหนักทารกน้อยในครรภ์ซึ่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน รวมถึงการนอนหลับไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้ามากขึ้น แนะนำให้พักงีบระหว่างวัน ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น
3.ท้องผูก
อาการนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติของคนท้องแก่ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่ควรออกกำลังกายเบาๆ รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม
4.ริดสีดวงทวาร
อาการนี้มักมาพร้อมกับท้องผูก เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นคู่กัน สาเหตุหลักๆ มาจากน้ำหนักของทารกน้อยที่กดทับส่วนปลายลำไส้ใหญ่ ทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการยืน เดิน หรือนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ฝึกขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ไม่กลั้นและไม่เบ่งอุจจาระ
ในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ เวลาใกล้คลอดเช่นนี้ นอกจากจะคอยสังเกตอาการของคุณแม่อย่างใกล้ชิดแล้ว ยังควรเตรียมพร้อมและตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเตรียมไว้ในกระเป๋าก่อนไปโรงพยาบาล จัดการเคลียร์ตารางงานของคุณพ่อให้พร้อม จัดสรรงบประมาณและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อถึงวันคลอดคุณแม่จะได้พร้อมเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันทีไม่ต้องกังวล
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม