ท้อง 32 สัปดาห์แล้ว คุณแม่หลายท่านคงอยากจะรู้ใช่ไหมว่าลูกน้อยมีขนาดตัวเท่าไหร่แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดังนั้นในบทความนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลที่คุณแม่อยากรู้มาฝากกัน ไปอ่านและทำความเข้าใจกันเลย
ท้อง 32 สัปดาห์ ลูกน้อยตัวแค่ไหน
เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์คุณแม่จะมีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อยขึ้น บางรายทารกอาจจะเริ่มกลับหัวลงแล้ว ทารกจะมีผม เล็บมือ เล็บเท้าและผิวหนังพร้อมสำหรับการคลอด ในช่วงนี้ทารกมีขนาดประมาณ 42.4 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 1,700 กรัม ซึ่งจะเติบโตขึ้นได้อีกตลอดช่วงอายุครรภ์ ส่วนน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงนี้ก็จะเพิ่มขึ้นประมาณ 450 กรัมต่อสัปดาห์
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ เมื่อท้อง 32 สัปดาห์
สำหรับสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำ เมื่อท้อง 32 สัปดาห์ ก็มีดังต่อไปนี้
1.นอนตะแคงข้าง
ในช่วงไตรมาสที่สาม ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้นมากทำให้เกิดแรงกดทับที่ร่างกาย แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงข้าง และเลี่ยงการนอนหงายเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในหลายๆ เรื่องได้ อีกทั้งยังทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง จนนอนไม่หลับได้อีกด้วย ดังนั้นการนอนท่าตะแคงข้างจึงเหมาะที่สุด นอกจากนี้คุณแม่ควรงีบหลับระหว่างวันเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น
2.ฝึกหายใจ ค่อยๆ หายใจช้าๆ ให้รู้สึกผ่อนคลาย
การฝึกหายใจจะช่วยให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น คุณแม่อาจขอคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องเทคนิคการหายใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดตามธรรมชาติ
3.วางแผนคลอด
ท้อง 32 สัปดาห์ระหว่างนี้คุณแม่ควรเริ่มต้นวางแผนการคลอดลูกได้แล้ว โดยให้ศึกษาข้อมูลการคลอด อาการเจ็บก่อนคลอด การฉีดยาเร่งคลอด รวมถึงการปฏิบัติตัวตอนคลอด สามารถปรึกษากับแพทย์ประจำตัวเพื่อวางแผนคลอดได้เลย
อาการต่างๆ ที่มักจะพบในช่วงนี้
ในช่วง ท้อง 32 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะพบกับอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเป็นกังวลได้ โดยอาการที่พบได้ในช่วงอายุครรภ์เท่านี้คือ
- มีอาการเจ็บท้องเตือน แต่ยังไม่ได้คลอด เป็นการซ้อมบีบตัวของมดลูกบ่อยขึ้นและแรงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้สับสนว่าเป็นตะคริวได้
- หัวนมสีเข้มขึ้น เป็นลักษณะของการเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก เชื่อกันว่าหัวนมที่มีสีเข้มขึ้นจะช่วยให้ลูกมองเห็นได้ง่ายขึ้น
- หายใจสั้น หายใจถี่ สาเหตุเพราะครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นจึงเข้าไปเบียดพื้นที่ปอด ทำให้หายใจได้ไม่เต็มปอด จึงทำให้หายใจสั้น หายใจถี่ คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าทารกจะได้รับอากาศไม่เพียงพอ ไม่ต้องพยายามหายใจแรงขึ้น แต่ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ
- กรดไหลย้อน มีอาการกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาที่หลอดลม ทำให้รู้สึกแสบร้อนทรวงอก เรอเหม็นเปรี้ยว รู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งเป็นผลจากขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เบียดบังพื้นที่กระเพาะอาหารจนกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้
- น้ำนมไหล ช่วงนี้หน้าอกของคุณแม่จะใหญ่ขึ้นและเริ่มสร้างน้ำนมเหลือง ซึ่งจะเป็นของเหลวสีเหลือง ที่ลูกน้อยจะได้ดื่มในวันแรกที่คลอดออกมา
- มีตกขาว ปริมาณตกขาวเพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมตัวคลอด ตกขาวจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ เมือกเหนียวนี้จะช่วยป้องกันคอมดลูกไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปได้ แต่ต้องคอยหมั่นสังเกต ถ้าหากเป็นของเหลวที่ดูเหมือนน้ำไม่เหมือนตกขาว คุณแม่อาจจะมีอาการน้ำเดิน ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ท้อง 32 สัปดาห์คุณแม่ควรระมัดระวัง คอยสังเกตอาการของตนเอง ถ้าหากมีอาการปวดท้อง ท้องแข็งเกร็งอย่าชะล่าใจ ช่วงนี้อาจเป็นได้ทั้งการเจ็บเตือนและเจ็บท้องคลอดจริง ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำงานหนักรวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดตลอดเวลา ถ้าหากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.เปลี่ยนเวลากินยาคุมได้ไหม ต้องเปลี่ยนอย่างไร ไม่เสี่ยงท้อง