การนอนของลูกวัยแรกเกิด ถึง 3 เดือน … ความรู้พื้นฐานสำหรับคุณแม่มือใหม่วันนี้ เราขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อยวัยแรกเกิดจนถึง 3 เดือนว่ามีพฤติกรรมการนอนเป็นอย่างไร แล้วถ้าเกิดนอนผิดเวลา จะมีผลต่อสุขภาพลูกรักอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ การนอนหลับของเด็กทารกแรกเกิด เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้ และศึกษาไว้ เนื่องจากเด็กบางคนกว่าจะหลับ หรือนอนได้ตามปกตินั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยจริงไหมค่ะ ยิ่งเด็กเล็กบางคนที่ไม่ยอมหลับแต่มีอาการง่วงแบบสุด ๆ ก็จะมีการร้องไห้งอแง ทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านเกิดความกังวล แต่สำหรับใครที่ไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ลองมาดูรายละเอียดดังนี้ค่ะ

พฤติกรรมการนอนของเด็กทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน

โดยปกติเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก ร่างกายจำเป็นต้องรับการพักผ่อนที่มากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายของเด็กช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการปรับตัว เมื่อทารกในอยู่ในครรภ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน เพื่อให้ทุกเซลล์ และระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเติบโตได้อย่างเต็มที่ เมื่อทารกคลอดออกมาในช่วง 1 สัปดาห์แรก ร่างกายจะมีสภาวะปรับตัวต้องการเวลาพักผ่อนที่มาก เพื่อให้ปรับสมดุลในร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ส่งผลให้ทารกแรกเกิดนอนตลอดทั้งวันนั่นเองค่ะ

สำหรับช่วงเวลาการนอนโดยปกติของทารกแรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก ทารกจะต้องนอนอย่างน้อย 18 ชั่วโมงต่อวัน ช่วงเวลานี้ลูกจะไม่สามารถทราบได้ว่า ช่วงเวลาใดเป็นกลางวันและช่วงเวลากลางคืน ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่มือใหม่อย่างเราเหนื่อยมากเป็นพิเศษ พอลูกอายุได้ 2 เดือน เวลานอนก็จะลดลงเหลือเพียง 15 – 16 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น โดยจะแบ่งเวลาการนอนเป็นช่วง คือ ช่วงเวลากลางวันจะนอนประมาณ 3 รอบ ๆ ละ 1 – 2 ชั่วโมง และกลางคืนจะนอนประมาณ 2 รอบ ๆ ละ 4 – 5 ชั่วโมง และเมื่อลูกอายุได้ 3 เดือนแรก ลูกจะนอนเพียง 15 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น โดยคุณแม่จะสังเกตได้ง่าย ๆ คือลูกจะเริ่มนอนกลางวันสั้นลง เพียง 1 – 2  รอบ ๆ ละ 1 – 2 ชั่วโมง และนอนกลางคืนจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 5 – 4 ชั่วโมง หรือนอนยาวตลอดถึงเช้าเลยก็มีค่ะ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ส่งผลต่อการนอนอย่างไร

สำหรับเด็กทารกแรกเกิด ร่างกายยังไม่คุ้นเคยกับการตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการปรับสมดุลเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วย ดังนั้น ทารกที่อยู่ระหว่าง แรกเกิด – 1 เดือนจึงต้องการพักผ่อนมากเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ร่างกายก็พร้อมรับมือกับสภาพแวดล้อมโดยรอบแล้ว และเป็นช่วงที่กระบวนการทำงานของกระเพาะอาหารก็กำลังเริ่มทำงานเป็นปกติ ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ช่วงนี้ลูกน้อยจึงนอนยาวตลอดทั้งคืนโดยไม่ลุกขึ้นมากวนคุณแม่ในตอนกลางคืนบ่อยเท่าช่วงแรก ๆ

เทคนิคการสอนลูกน้อยให้รู้จักกับเวลากลางวันและกลางคืน

เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือน คุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกน้อยรับรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืนได้ โดยการสร้างความเข้าใจให้ลูกได้รู้ว่า ช่วงเวลาใดเป็นเวลานอน ช่วงเวลาใดเป็นเวลาที่ต้องทำกิจกรรม การฝึกฝนเช่นนี้จะลดความเหนื่อยล้าให้กับคุณแม่ลงได้ค่ะ ลองทำตามเทคนิคข้างล่างนี้ดูนะคะ

  1. ช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังคลอด ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้การนอนระหว่างกลางวัน และกลาวคืน เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกนอนกลางวันนานเกิน 2 – 3 ชั่วโมงต่อรอบ คุณแม่ควรปลุกลูกให้ตื่นขึ้นมากินนม และเล่นกับลูกน้อยเป็นการเสริมทักษะ และพัฒนาการที่ดีสมวัย และในตอนกลางคืน คุณแม่ก็ควรหาชุดนอนให้ลูกใส่เป็นประจำ แล้วให้ลูกได้รับรู้ว่าเมื่อสวมชุดนี้แล้ว ถือเป็นช่วงเวลาที่ต้องนอน ระหว่างที่ลูกน้อย คุณแม่ไม่ควรปลุกให้ลูกดูดนม แนะนำปล่อยให้ลูกนอนให้นานที่สุด โดยคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตการหายใจ และท่านอนของลูกเท่านี้ก็พอ
  2. ลดรอบการนอนกลางวันให้น้อยลง โดยการเล่นกับลูกในช่วงกลางวันให้มากที่สุด แต่ไม่แนะนำให้เล่นกับลูกนอนช่วงเย็นหรือก่อนนอนนะคะ เพราะลูกอาจจะไม่ยอมนอนได้ เนื่องจากร่างกายถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ยอมเปลี่ยนไปสู่โหมดของการนอนพักผ่อน
  3. สร้างบรรยากาศก่อนนอน โดยการเปิดเพลงกล่อมเด็กที่มีจังหวะที่เบา สบาย เพื่อให้ลูกผ่อนคล้ายและนอนหลับได้ดีขึ้น หรือเปิดเพลงเบาๆ เฉพาะช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าเวลาเปิดเพลงนี้เป็นเวลาที่ต้องนอน
  4. ปรับสภาพห้องนอนให้เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยนสภาพห้องนอนให้เหมาะกับช่วงเวลา เช่น เวลากลางวันคุณแม่ก็ควรเปิดห้องให้โปร่งและมีแสงเข้าถึงโดยรอบ ส่วนเวลากลางคืน ก็ควรเปิดไฟหรี่ ๆ ก่อนเข้านอนไม่ควรเปิดไฟที่สว่างมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกไม่ยอมนอนและไม่ง่วงได้

การนอนของทารกแรกเกิด จนถึง 3 เดือนแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เราขอบอกเลยค่ะว่าช่วงเวลานี้คุณแม่ทุกคนจะต้องเหนื่อย อ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ เพราะยิ่งคุณแม่ที่สุขภาพร่างกายยังไม่กลับสู่ปกติแล้วด้วย อาจจะต้องมีผู้ช่วยในช่วงที่ลูกยังเล็ก โดยการให้คุณพ่อ หรือญาติพี่น้อง มาช่วยดูแลในเรื่องอื่น ๆ ตอนกลางวันแทนคุณแม่บ้าง เพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาพักหลังจากต้องดูแลลูกน้อยมาตลอดทั้งคืน

ทั้งนี้ การฝึกลูกน้อยให้นอนเป็นเวลา นอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง และช่วยพัฒนากระบวนการทำงานของระบบประสาทให้สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของคุณแม่ด้วย ดังนั้น แนะนำให้นำเอาเทคนิคทั้ง 4 ของเราไปปรับใช้ดูนะคะ อาจจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่มือใหม่อย่างคุณบ้าง ไม่มากก็น้อย การนอนของลูกน้อยเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่าเรื่องอื่น ๆ คุณแม่ควรใส่ใจด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่กับบทความดี ๆ เช่นนี้ครั้งหน้าค่ะ

Sponsored

ขอบคุณรูปภาพ : netmums

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด