ทันทีที่รู้ว่ามีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ อยู่ในท้อง คุณแม่ทุกคนรู้สึกได้อัตโนมัติเลยว่าชีวิตตนเองมีค่า จะทำอะไรหรือกินอะไรก็ยังนึกถึงเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในท้องเป็นหลัก เมื่อมีการเจ็บป่วยการใช้ยาก็เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ แล้วยาชนิดไหนบ้างล่ะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงมาดูกันเลย

23 รายการยา ห้ามใช้ในคนท้อง

สำหรับยาที่คนท้องห้ามใช้ ก็มี 23 รายการดังต่อไปนี้

1.ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ

  • เตตร้าไซคลินเป็นยาที่ใช้ในการรักษาสิวส่งผลโดยตรงต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อย จะทำไปทำให้กระดูกและฟันไม่สมบูรณ์ ฟันของลูกน้อยมีสีเหลืองและน้ำตาลไปตลอดชีวิต ทั้งยังส่งผลให้กระดูกและสมองทีความผิดปกติกรณีที่ใช้ในปริมาณที่สูงมากอาจส่งผลต่อตับอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่เลยทีเดียว
  • สเตรปโตมัยซิน เป็นตัวยาที่สามารถทำให้ทารกมีอาการหูหนวก หูตึงได้
  • คลอแรมเฟนิคอล เข้าไปกดการทำงานของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือด ส่งผลให้เม็ดเลือกจาง ลูกน้อยที่คลอดมาจะมีตัวสีเขียวซีด ท้องป่อง อาจช็อกและเสียชีวิตได้
  • คลอโรควิน เป็นรักษาที่ทางการแพทย์ใช้รักษาโรคมาลาเรีย หรือไข้จับสั่น หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับยาชนิดนี้ อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้
  • ควินิน ส่งผลให้มีการแท้งบุตร ทำให้ทารกแรกคลอดมีอาการหูหนวกได้
  • เพนิซิลลิน และแอมพิซิลลิน จัดเป็นตัวยาที่ค่อนข้างปลอดภัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เว้นแต่คุณแม่เองมีอาการแพ้ยากลุ่มนี้ เนื่องจากมีการแพ้ยาสูงที่สุด ดังนั้นยาชนิดนี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติแพ้ยา
  • ยาแก้อักเสบ การที่คุณแม่ทานแก้อักเสบบ่อยๆ อาจส่งผลให้คุณแม่ดื้อยาอีกด้วย อีกทั้งยังส่งผลให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบจากเชื้อรา

2.ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น แอสไพริน และไอบูโปรเฟน

กรณีที่คุณแม่รับยาชนิดนี้ในขณะที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ 5-6 เท่า รบกวนการแข็งตัวของเลือก เพิ่มโอกาสการเกิดเลือกออกในขณะตั้งท้อง หากคุณแม่กินยาช่วงท้องแก่ใกล้คลอด ตัวยาจะไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือกของตัวลูกน้อยในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุด อีกทั้งยังส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย

3.ยาแก้คัน แก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน

สำหรับยาตัวนี้ยังสามารถช่วยลดน้ำมูกได้อีกด้วย ไม่ค่อยส่งผลกระทบมากมายนักกรณีที่คุณแม่ใช้เพียงช่วงคราว แต่หากได้รับยาติดต่อกันนานๆ จะทำให้มีเกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจมีอาการเลือดไหลผิดปกติ ลูกน้อยบางคนอาจมีความพิการแต่กำเนิด

4.ยาแก้ไข้หวัด

ยาแก้ไข้หวัดประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ซึ่งขั้นต้นไม่มีอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อย แต่ถ้าต้องใช้ยาในระยะยาวแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายได้เหมือนกัน

5.ยาแก้ไอ

โดยเฉพาะยาแก้ไอที่มีไอโอดีน คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเล่นหากได้รับยาเข้าไปจะส่งผลให้เกิดอาการคอพอกได้และความผิดปกติทางสมองได้

6.ยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท

ถ้าเป็นยาตามแพทย์สั่งก็ไม่เป็นไร แต่คุณแม่ไม่ควรซื้อยามากินเองถ้าใช้ในปริมาณมากๆ ทารกที่เกิดมาจะหายใจไม่ปกติ เคลื่อนไหวช้า มีอาการคล้ายคนติดยา ชักกระตุกร่วมด้วย

7.ยารักษาเบาหวาน

สำหรับยาฉีดแบบอินซูลินไม่ได้ส่งผลอันตรายแต่อย่างไร แต่ถ้าเป็นยาชนิดกินส่งผลให้น้ำตาลในเลือดของลูกน้อยต่ำ  เคยมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการ

8.ยารักษาโรคความดันโลหิต

ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอดจะส่งผลให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดมีอาการคัดจมูก ตัวเย็น มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้า

9.ยารักษามะเร็ง

เป็นยาที่เป็นพิษต่อทารกได้ ก่อให้เกิดความผิดปกติของรูปร่าง ปากแหว่งเพดานโหว่

10.ยาขยายหลอดลม

ส่งผลให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ งอแง ตัวสั่น อาเจียน อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วง 6-48 ชั่วโมงหลังคลอด

11.ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ได้แก่ยาจำพวก เฟนินไดโอน , อินดานิดิโอน และคูมาริน เป็นยาที่ห้ามใช้กับคุณแม่ท้องอ่นๆ โดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกอาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดความพิการได้ เช่น การเจริญของจมูกน้อยลง ส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์หรือแรกคลอดมีเลือกออกได้

12.ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง

ตัวยาบางชนิดส่งผลให้ลูกน้อยมีความพิการแต่กำเนิด ดังนั้นไม่ควรซื้อมาทานเอง ควรเป็นยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้เท่านั้น

13.ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

โดยเฉพาะตัวยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ กรณีที่ใช้ยาในปริมาณที่สูง จะส่งผลให้คุณแม่ท้องเสียและเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ลูกน้อยมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงจนเกิดการชักกระตุกได้

Sponsored

14.ยาถ่ายพยาธิปิเปอร์ราซีน และยาต้านสารฮีสตามีนไซคลิซีน

แม้ว่ายังไม่มีรายงานเกี่ยวกับคุณแม่และทารก แต่สำหรับหนูทดลองในห้องทดลองพบว่าส่งผลทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ทางการแพทย์จึงให้คุณแม่ตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้

15.ยาขับปัสสาวะ

เป็นตัวยาที่ใช้ขับน้ำที่เป็นส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้เลือดของลูกน้อยมีความผิดปกติ ลูกน้อยมีความพิการแต่กำเนิด

16.ยารักษาต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ซึ่งใครที่เป็นโคไทรอยด์ ควรแจ้งหมอให้ทราบถึงการตั้งครรภ์ เพื่อที่หมอจะได้จัดยาตัวอื่นหรือหาแนวทางในการรักษาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยให้นั่นเอง

17.ยารักษาสิว

ยาจำพวก ไอโซเตรทติโนอิน , เรติโนอิกแอซิด , แอคโนทิน , โรคแอคคิวเทน และ ไอโซเทน เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาสิวหัวช้างหรือสิวชนิดรุนแรง ส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด มีความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องทางสมอง

18.ยาฮอร์โมนเพศ

ส่งผลต่อการพัฒนาอวัยวะเพศและการสืบพันธุ์ของทารกผิดปกติ หากคุณแม่รับยาชนิดนี้ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเป็นเนื้องอกและมะเร็งปากมดลูก

19.ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด

ส่งผลต่อความพิการของหลอดเลือดใหญ่ ลูกน้อยมีแขนขากุด

20.ยากันชัก จำพวกเฟนิโทอิน , คาร์บามาซีปีน , ไดแลนติน , ไฮแดนโทอิน

สร้างความพิการแก่ทารกในครรภ์ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจช้ากว่าปกติ

21.ยาชาเฉพาะที่

การใช้ยาชนิดส่งผลให้ลูกน้อยแรกคลอดมีหัวใจเต้นช้าลง หรือหยุดหายใจและมีอาการชัก

22.ยาสเตียรอยด์ทุกชนิด

ไม่ว่าจะเป็น เพรดนิโซโลน , เดกซาเมทาโซน , กลูโคคอร์ติคอยด์ เพราะจะเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตรมากขึ้น ทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ไม่ดี มีความพิการแต่กำเนิดเช่นปากแหว่งเพดานโหว่

23.วัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิต

วัคซีนจำพวกนี้จะเป็นอันตรายได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ , คางทูม , หัด และหัดเยอรมัน ซึ่งควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ในการฉีดวัคซีนเหล่านี้

ก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการใช้ยาจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จะต้องระวังและมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งจะได้ปกป้องความอันตรายต่อลูกรัก

ขอบคุณข้อมูลจาก Medthai

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.เชื้อไวรัส hMPV คืออะไร ทำไมลูกน้อยจึงป่วยบ่อย

2.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเด็กเล็ก วิธีสังเกตและการดูแลเมื่อลูกน้อยป่วย