เมื่อตั้งครรภ์ เชื่อว่าคุณแม่ก็อยากรู้ใช่ไหม ว่าตอนนี้ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรและมีขนาดตัวแค่ไหนแล้ว ซึ่งวันนี้เราก็นำข้อมูลเกี่ยวกับขนาดตัวของลูกน้อยเมื่อ ท้อง 22 สัปดาห์มาฝากกัน พร้อมด้วยคำแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ในช่วงนี้ โดยมีข้อมูลอะไรบ้าง ก็ต้องไปดูกันเลย

ท้อง 22 สัปดาห์ ลูกน้อยตัวแค่ไหนแล้วนะ

เมื่อ ท้อง 22 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 27 ซม. และมีน้ำหนักเกือบครึ่งกิโลกรัม ช่วงนี้ทารกน้อยเริ่มมีหน้าตาที่ชัดเจนและมีขนาดเติบโตขึ้นมากจนทำให้ท้องของคุณแม่ใหญ่โตจนใครเห็นก็อยากจะเข้ามาขอลูบท้อง โดยช่วงนี้น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ เมื่ออายุครรภ์ 22 สัปดาห์

สำหรับสิ่งที่คุณแม่ควรทำ และดูแลตนเอง เมื่อท้อง 22 สัปดาห์ ก็มีดังนี้

1.นอนตะแคงข้าง

ท้อง 22 สัปดาห์ช่วงนี้ท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์มีขนาดใหญ่มาก การนอนหงายไม่เป็นผลดีต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงควรนอนตะแคงข้างจะดีที่สุด นอกจากนี้การใช้หมอนหนุนท้อง หรือหมอนสำหรับคนท้องก็จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้สบายมากขึ้น

2.ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

ท้อง 22 สัปดาห์ คุณแม่ควรเริ่มออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้แล้ว โดยใช้การขมิบช่องคลอดเพื่อให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงแข็งแรง  แถมยังช่วยลดอาการหย่อนของอุ้งเชิงกรานเนื่องจากการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

3.หมั่นทาครีมบำรุงผิวหรือน้ำมัน

Sponsored

ควรทาครีมหรือน้ำมันบำรุงผิวบริเวณท้อง หน้าอก และขาเป็นประจำ เพื่อป้องกันรอยแตกลายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยช่วงนี้หากดูแลผิวไม่ดี จะปรากฎรอยแตกลายที่เห็นชัดมาก โดยมีขนาดประมาณ 1-10 มม.และยาวได้หลายเซนติเมตร ซึ่งจะจางหายไปหลังจากคลอด แต่จะจางหายไปหมดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลผิวของตัวคุณแม่เองด้วย

อาการต่างๆ ที่มักจะพบในช่วงนี้

นอกจากวิธีดูแลตนเองในช่วงตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์แล้ว ก็มีอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสังเกตและเตรียมตัวรับมือด้วย โดยมีอาการต่างๆ ที่มักจะพบในช่วงท้อง 22 สัปดาห์ดังนี้

  • ปวดอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะเวลาเดิน ขึ้นบันได หรือเอนตัวลงนอน ถ้าหากปวดมากควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการลดอาการปวด
  • เป็นตะคริวที่น่อง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ทั้งนี้แนะนำให้พยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อขาและดื่มน้ำมากๆ ซึ่งเวลาเป็นตะคริวให้เหยียดขา กระดกปลายเท้า และใช้มือดึงปลายเท้าขึ้นมา โดยอาจต้องให้คุณพ่อช่วยดัดและนวดขาให้ ถ้าหากอาการไม่มีขึ้นอาจใช้การประคบร้อน หรือนวดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง
  • สะดือจุ่น จะสังเกตเห็นว่าสะดือคุณแม่จะจุ่นออกมาจนเห็นได้ชัด เป็นเพราะมดลูกขยายใหญ่มากจนไปดันหน้าท้องและสะดือให้ยื่นออกมา แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป อาการนี้จะหายไปหลังจากคลอดลูก
  • ลูกดิ้น ช่วงท้อง 22 สัปดาห์ลูกจะตอบสนองต่อเสียงรอบข้าง เมื่อคุณแม่พูดคุยหรือมีเสียงดัง ทารกน้อยจะตอบสนองต่อเสียงนั้น ลูกจะดิ้นเป็นเวลามากขึ้น สิ่งที่ควรสังเกตคือความถี่ในการดิ้น ไม่จำเป็นต้องดิ้นแรงแต่ต้องดิ้นสม่ำเสมอ ถ้าหากลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจความผิดปกติทันที
  • กรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปสู่หลอดอาหาร สาเหตุหลักมาจากทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก จนเบียดพื้นที่กระเพาะอาหาร ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่าย วิธีบรรเทาอาการ พยายามตั้งตัวให้ตรง ดื่มน้ำให้มากเพื่อลดกรดในกระเพาะ หลังจากรับประทานอาหารให้เว้นระยะประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงเอนตัวลงนอน และไม่รับประทานให้แน่นท้องมากเกินไป สามารถแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ ได้ เพื่อบรรเทาอาการ

ยิ่งเข้าใกล้ช่วงคลอดมากเท่าไหร่ คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อลดอาการท้องผูก ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าหากมีอาการเจ็บท้องคลอดผิดปกติหรือลูกดิ้นน้อยลงต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.แม่รู้ไหม…ความเครียดส่งผลทำให้ ทารกน้ำหนักตัวน้อย

2.15 วิธีผ่อนคลาย ความเครียดในคนท้อง จะรับมืออย่างไรดี