ลูกน้อยวัยสองขวบเป็นวัยที่กำลังน่ารัก วัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น จึงเหมาะที่จะเสริมความรู้อย่างเหมาะสมในแต่ละด้านให้กับลูก เด็กวัยสองขวบเป็นวัยที่กำลังอยู่ในช่วงที่ซนที่สุด จนได้รับฉายาวัยทองสองขวบมาครอง คุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่มีลูกอยู่ในวัยนี้จะรู้ดีว่าวัยนี้ทั้งแสบทั้งซนขนาดไหน วันนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เด็กสองขวบ มาฝากคุณแม่ มาดูกันว่าเด็กวัยนี้เป็นอย่างไรและคุณแม่จะต้องรับมือยังไงบ้าง
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เด็กสองขวบ
อารมณ์ของเด็กสองขวบนั้นคาดเดาได้ยาก เพราะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย โดยเฉพาะในช่วง 2 – 4 ขวบจะเป็นช่วงที่อารมณ์แปรปรวนที่สุด เพราะเด็กกำลังเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง จึงมักจะเห็นพฤติกรรมของลูกวัยนี้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เด็ก 2 ขวบ วัยนี้จะมีอะไรให้คุณแม่ได้แปลกใจอยู่เสมอ และนี่คือ 5 เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับเด็กวัยสองขวบนั่นเอง
1.วัยทอง 2 ขวบ (Terrible Two)
เด็กในวัยสองขวบจะเป็นช่วงที่มีอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด เนื่องจาก เด็กสองขวบ จะมีพัฒนาการแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นความคิด การเรียนรู้และอารมณ์ วัยนี้เด็กมักจะแสดงออกมาในเชิงเป็นตัวของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าเด็กจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ หรือบางทีไม่ได้ดั่งใจก็จะอาละวาดลงไปชักดิ้นชักงอกองกับพื้น แต่ถ้าเข้าใจพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเขาจริงๆ ก็จะพบว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะดึงศักยภาพของลูกออกมาได้ โดยปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คอยดูแลอยู่ห่างๆ และส่งเสริมเขาอย่างถูกต้องเท่านั้น
2.มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
เด็กสองขวบ วัยนี้จะเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นชอบการเรียนรู้แบบไม่มีเบื่อ วัยนี้เป็นวัยที่สำคัญที่คุณแม่จะปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ให้กับลูกผ่านการเล่นการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่ทุกการเรียนรู้จะต้องเหมาะสมกับวัยของลูก และทำให้ลูกสนุกไปด้วย เพื่อให้ลูกได้รู้สึกว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจและทำให้เขาอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น
3.ลูกไม่เหมือนใคร สังเกตให้ดีและส่งเสริมให้ถูกต้อง
เด็ก 2 ขวบ ไม่ได้เหมือนกันทุกคน วิธีที่สอนเด็กคนหนึ่งได้ผล อาจจะใช้กับเด็กอีกคนไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นลองสังเกตลูกของเราให้ดี ว่าลูกมีความชอบแบบไหน และส่งเสริมเข้าให้ถูกต้อง เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความชอบที่แตกต่างกันออกไปการเรียนรู้ก็ต้องต่างกันออกไปด้วย โดยการที่ลูกเราไม่เหมือนใครไม่ได้หมายความว่าจะแปลกแยกหรือแย่อะไร สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำคือส่งเสริมเขาให้ถูกวิธี เปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเล่น วิธีนี้จะช่วยให้ลูกค้นหาการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้
4.สุขภาพกายและสุขภาพใจเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน
เด็กในวัยสองขวบจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้นหากเด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี สุขภาพดีรอบด้านเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นการต่อยอดพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและอารมณ์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงการเรียนรู้ โดยเด็กสองขวบหากกินอิ่มนอนหลับ เขาก็จะมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี มีพลังออกไปเล่นสำรวจและเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง
5.การทำอะไรซ้ำๆ ก็เป็นการเรียนรู้ได้เช่นกัน
คุณแม่เคยสังเกตไหมว่าเด็กบางคนจะชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น บางคนเดินหยิบของไปมาด้วยตลอด บางคนนั่งดูสีที่ผสมกันและเปลี่ยนเป็นสีอื่น ทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยที่ไม่มีเบื่อ คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะนี่ก็เป็นอีกวิธีเรียนรู้ของ เด็กสองขวบหรือสคีมา (Schemas) คือเด็กจะมีรูปแบบการทำซ้ำๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเด็กที่ใช้เชื่อมโยงกับการเล่น การเรียนรู้ การสำรวจ จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน เป็นอีกหนึ่งรากฐานของการเรียนรู้ต่อไปของลูก
วิธีรับมือลูกน้อยวัยซน ช่วง 2 ขวบ
ลูกน้อยวัย 2 ขวบเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ วัยนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยรับมือกับความซน เจ้าอารมณ์ และหงุดหงิดง่ายของลูก และหากผ่านช่วงวัยนี้ไปก็จะค่อยๆ ดีขึ้น โดยจะสามารถรับมือกับ เด็ก 2 ขวบ ได้อย่างไร วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ มาแนะนำ มาดูวิธีรับมือกันเลยดีกว่า
- พยายามเข้าใจ อดทน อดกลั้น เพราะการที่ลูกดื้อ ลูกซน ก็เป็นเพราะช่วงวัยของเขา จึงควรใช้เหตุผลกับลูกเสมอ
- ใช้อารมณ์ขันเข้าแลก หากลูกมีอารมณ์หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องทำอารมณ์ขันเข้าไว้อย่าใช้อารมณ์ไปกับลูก เพราะจะยิ่งทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น
- เปลี่ยนจากห้าม เป็นให้ทำ เช่น หากอยากให้ลูกหยุดเล่นน้ำ เปลี่ยนเป็นให้ลูกไปปิดน้ำแทน
- สร้างตารางเวลาให้ลูกอย่างชัดเจน เพื่อความเป็นระเบียบมากขึ้น ลูกจะได้รู้ว่าเวลานี้ควรทำอะไร
- หากลูกทำอะไรผิดมาเปลี่ยนจากทำโทษมาเป็นอบรมสั่งสอนว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำให้ลูกดีกว่า
เด็กวัยสองขวบเป็นวัยที่มีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เพราะเป็นช่วงวัยที่สมองส่วนควบคุมอารมณ์จะเจริญเติบโตไวกว่าสมองส่วนที่ควบคุมเหตุผล จึงทำให้ เด็กสองขวบ เป็นวัยที่ดื้อ ซน และอารมณ์ฉุนเฉียวได้มากกว่าวัยอื่น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจลูกวัยนี้ พยายามใจเย็น อดทน อดกลั้น และอบรมสั่งสอน พร้อมเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเขาจะดีที่สุด
= = = = = = = = = = = =