คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีอายุครรภ์ได้ 1 เดือนแล้ว อาจจะรู้สึกสงสัยว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีลักษณะแบบไหน รูปร่างเป็นอย่างไรบ้าง และอยู่ส่วนไหนของมดลูก วันนี้เราจึงจะพาคุณแม่ไปดูพัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือนกันค่ะว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อยากรู้แล้วต้องมาดูกันเลย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน เป็นอย่างไร
ทารกน้อยในครรภ์คุณแม่ หลังจากได้ปฏิสนธิครบเดือนแล้ว จะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง ได้แก่
1.ช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ตัวคุณแม่ยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สำหรับภายในครรภ์คุณแม่ ซึ่งมีตัวอ่อนที่ฝังตัวในโพรงมดลูกแล้ว มีการแบ่งตัวของเซลล์นับร้อยเซลล์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาในการสร้างอวัยวะต่างๆ ต่อไป โครงสร้างโดยรวมยังมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ และนุ่มคล้ายวุ้น
2.ในช่วง 14-21 วันหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะมีการพัฒนาในส่วนของระบบประสาท เส้นประสาท ไขสันหลัง และกระดูกสันหลัง
3.เมื่อเซลล์ของตัวอ่อนเกิดการแบ่งตัว จึงทำให้มีการพัฒนาออกเป็น 3 ชั้นคือ
- เซลล์ชั้นนอก เป็นโครงสร้างของ สมอง เส้นประสาท รวมถึงผิวหนังด้วย
- เซลล์ชั้นกลาง เป็นโครงสร้างของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด หัวใจ รวมถึงอวัยวะเพศของลูกน้อยอีกด้วย
- เซลล์ชั้นใน จะพัฒนาเป็นอวัยภายในที่สำคัญคือ ตับ หัวใจ ปอด และกระเพาะอาหาร
4.เซลล์บางส่วนได้พัฒนาเป็นส่วนของสายสะดือ รวมถึงมีเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำจากรก ซึ่งเป็นเส้นทางที่ทำหน้าที่นำพาสารอาหารไปสู่ตัวทารกน้อยในครรภ์ และในขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่ถ่ายเทของเสียออกมาอีกด้วย
5.เมื่ออายุครรภ์ 3 สัปดาห์ อวัยวะส่วนสำคัญเริ่มเจริญเติบโตมากขึ้น ที่สำคัญหัวใจของลูกเริ่มเต้นได้แล้ว
6. เมื่ออายุครรภ์ 4 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน จะมีลักษณะคล้ายกุ้ง ส่วนเอวจะคอดเห็นได้ชัด จากลำตัวไปถึงส่วนเท้า จะมีลักษณะเหมือนหางกุ้งและโค้งงอ
อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ
ขณะตั้งครรภ์คุณแม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ และกินให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ เพราะจะช่วยให้มีสารอาหารไปเลี้ยงทารกได้เพียงพอ โดยอาหารที่ควรกินมีประเภทไหนบ้างมาดูกันเลย
1.เนื้อสัตว์
คุณแม่ควรเลือกกินเนื้อสัตว์ชนิดที่มีไขมันน้อย หรือไม่ติดมัน เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลาน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ งดเว้นปลาทะเลเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารปรอท ส่วนคุณแม่ที่กินเนื้อวัวได้ก็ควรกิน เพราะในเนื้อวัวมีโปรตีน ธาตุเหล็ก และวิตามินบี 12 ค่อนข้างสูงกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น จึงช่วยเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือนได้ดี
2.ผลไม้
ในช่วงเดือนแรก คุณแม่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้อง กินอาหารอย่างอื่นได้น้อย แต่คุณแม่กลับกินผลไม้ได้ดี จะบอกว่าผลไม้คืออาหารที่ดีและเหมาะสำหรับครรภ์เดือนแรกของคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน เบต้าแคโรทีน และกากใยอาหาร ซึ่งจะช่วยในเรื่องการขับถ่ายของคุณแม่ได้นั่นเอง
3.นม
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ 1 เดือนควรดื่มนมเป็นประจำวันละ 2 แก้ว จะเป็นนมวัว นมแพะ หรือนมถั่วก็ได้ เพราะมีทั้งโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี กรดโฟเลท และวิตามินต่างๆ อย่างครบถ้วน ซึ่งจะช่วยเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือนได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรดื่มนมชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป
4.อาหารที่มีกรดโฟเลท
การตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ กรดโฟเลท มีความจำเป็นต่อคุณแม่ และการพัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือนเป็นอย่างมาก คุณแม่ที่กินอาหารที่มีโฟเลทเพียงพอ จะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ได้มากทีเดียว ซึ่งอาหารที่มีกรดโฟเลทสูงอยู่ในผักเหล่านี้ คือ มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า และบล็อกโคลี่
5.อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
ธาตุเหล็กทำหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกน้อยในครรภ์ และส่งไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาระดับความเข้มข้นของเลือดให้กับคุณแม่ให้มีความสมดุลอีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่หาได้ทั่วไปคือ ถั่วเมล็ดแห้ง ทั้งถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และมีในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟล็ก รวมถึงในเนื้อสัตว์ และตับสัตว์อีกด้วย
คำแนะนำสำหรับคนท้อง 1 เดือน
เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์สิ่งที่ต้องทำทันที คือ
1.ไปฝากครรภ์
หลังจากคุณแม่เริ่มรู้ตัวว่าประจำเดือนขาด และได้ทดลองตรวจครรภ์ด้วยตนเองแล้วรู้ว่ามีการตั้งครรภ์ ควรไปทำการฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพราะคุณหมอจะได้ตรวจสุขภาพให้คุณแม่ว่ามีความบกพร่องเรื่องใดบ้าง หากพบความผิดปกติแพทย์จะได้รักษาให้คุณแม่ได้ทันท่วงที พร้อมทั้งให้คำแนะนำและให้ยาบำรุงครรภ์คุณแม่กลับมากินบำรุง เพื่อให้ลูกน้อยสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจดูพัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน ว่ามีพัฒนาการที่ดีหรือไม่อีกด้วย
2.กินอาหารรสจืดย่อยง่าย
คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องกินอาหารได้น้อย รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรกินอาหารรสจืดและย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มจะช่วยให้มีกำลังดีขึ้น และลดอาการอ่อนเพลียได้
3.หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์
หากพบว่ามีอาการผิดปกติที่จะเสียงต่อการแท้งคุกคามควรปรึกษาแพทย์ทันที โดยเฉพาะเมื่อพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอด หรือปวดท้องรุนแรง
4.ทำจิตใจให้เบิกบานไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป
คุณแม่ที่ท้องครั้งแรกอาจจะมีความวิตกกังวลกับการตั้งครรภ์ จนทำให้เกิดภาวะความเครียด ควรทำใจให้สบายจะช่วยให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่น และพัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือนมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยดีอีกด้วย
การตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ 1 เดือนดูภายนอกอาจจะยังไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงมาก ยกเว้นแต่คนแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง จะทำให้สังเกตได้ถึงอาการอ่อนเพลีย ส่วนพัฒนาการทารก 1 เดือนได้พัฒนาไปตามอายุครรภ์อย่างช้าๆ และต่อเนื่องตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ซึ่งเมื่อคุณแม่ดูแลตัวเองอย่างดีตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดต้องกังวลอีกค่ะ รอนับวันเวลาจะได้พบกับเจ้าตัวน้อยออกมาดูโลกได้เลย
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่